Amazon Electronics

Wednesday, June 27, 2012

TV Platform vs Content Providers

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

การวิเคราะห์สภาพการแข่งขันของทีวีไทยในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องแยกพิจารณาผู้เล่นในตลาดเป็น 2 ส่วน
  • platform provider หรือคนสร้างระบบการแพร่ภาพหรือรับสัญญาณภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัทเคเบิลทีวี หรือเจ้าของจานดาวเทียมยี่ห้อต่างๆ อย่างสามารถ PSI DTV เป็นต้น
  • content provider หรือเจ้าของรายการทีวี จะผลิตเองหรือจะซื้อมาจากต่างประเทศก็ได้ ตัวอย่างบริษัทในกลุ่มหลังได้แก่ เนชั่น เวิร์คพอยต์ แกรมมี่ อาร์เอส สปริงนิวส์ เป็นต้น

สำหรับวงการฟรีทีวีแบบ terrestrial จะควบทั้ง 2 บทบาท คือเป็นเจ้าของระบบส่งสัญญาณ เสาสัญญาณเองด้วย และเป็นผู้ผลิตรายการหรือซื้อรายการมาฉายด้วย (เช่น ทำข่าว ละคร รายการของตัวเอง ถ้าเวลาเหลือจึงให้เอกชนรายอื่นมาเช่าเวลาต่อ) แต่สำหรับแวดวงเคเบิล-ดาวเทียม โดยปกติแล้ว ผู้เล่นในสองกลุ่มนี้จะเป็นคนละบริษัทกัน โดยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน เช่น กลุ่มเนชั่นซื้อช่องบนแพลตฟอร์มของ PSI และนำรายการมาฉายเพื่อหากำไรจากสปอนเซอร์อีกต่อหนึ่ง ในขณะเดียวกันเนชั่นก็ซื้อช่องบนแพลตฟอร์มดาวเทียมอื่นๆ อย่าง DTV ด้วย

ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ทำให้จานดาวเทียมและเคเบิลทีวีแทบทุกราย (ยกเว้น True Visions) มีช่องรายการที่ใกล้เคียงกัน อาจต่างกันในรายละเอียดบางส่วนแต่ช่องหลักๆ จะเหมือนกัน ประสบการณ์การรับชมจึงไม่ต่างกันนักไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี

กรณีของ True Visions ถือเป็นกรณีพิเศษคือ True ควบทั้ง 2 บทบาทเช่นกัน ในด้านหนึ่งทรูก็ทำจานแดง ทำกล่องรับสัญญาณของตัวเองออกมาขาย ในอีกด้านหนึ่งก็ซื้อรายการฟุตบอล ภาพยนตร์ ซีรีส์จากต่างประเทศ รวมถึงผลิตรายการเองอย่างเช่น Academy Fantasia หรือช่องข่าว TNN อีกด้วย นโยบายลักษณะนี้ของทรูคือเป็น “แพลตฟอร์มปิด” ซึ่งในที่นี้แปลว่ารายการที่ฉายบน True Visions ห้ามไปฉายบนทีวีระบบอื่นๆ ฉายได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มของทรูเท่านั้น

การควบบทบาททั้ง platform provider และ content provider ช่วยสร้างความได้เปรียบในแง่การแข่งขันมาก เพราะควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ อำนาจต่อรองสูง (vertical integration) ตรงนี้เลยเป็นเหตุให้แกรมมี่ซึ่งเดิมทีเป็น content provider รายใหญ่อยากเข้ามาเป็น platform provider บ้าง


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, June 26, 2012

ทีวีทางเลือก

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

เมื่อเทคโนโลยีการแพร่สัญญาณทีวีแบบอื่นๆ พัฒนาขึ้นมา ทำให้ผู้ชมชาวไทยมี “ทีวีทางเลือก” ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น IPTV หรือทีวีออนไลน์ แต่ที่สำคัญมีเพียง 2 อย่างคือ “ทีวีผ่านสายเคเบิล” และ “ทีวีผ่านดาวเทียม” นั่นเอง

ในส่วนของเคเบิลทีวี ในอดีตเคยมีผู้เล่น 3 รายคือ IBC, ThaiSky และ UTV ซึ่งภายหลังได้ควบกิจการกันเหลือเพียงรายเดียวคือ UBC ของกลุ่มซีพี (และปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ชื่อ True Visions) อย่างไรก็ตามถึงแม้ True Visions ในช่วงแรกจะเริ่มจากเทคโนโลยีสายเคเบิลใน กทม. แต่ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีดาวเทียมพัฒนาขึ้น ทรูก็เปลี่ยนมาใช้ดาวเทียม “จานแดง” อย่างที่เห็นกันทุกวันนี้ โดยที่ยังมีลูกค้ากลุ่มเคเบิลอยู่บ้างแต่ไม่เยอะนัก

ตลาดเคเบิลทีวีในภายหลังก็มีเคเบิลทีวีท้องถิ่นรายย่อยๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ให้บริการกลุ่มนี้รวมตัวกันเป็น “สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย” กันอย่างหลวมๆ โดยเจาะตลาดตามพื้นที่ของตัวเอง ลดการแข่งขันในพื้นที่เดียวกันเพื่อรักษาอัตรากำไรจากราคาที่คงที่

ส่วนทีวีดาวเทียม ช่วงแรกเริ่มจาก “จานดำ” หรือดาวเทียมระบบ C-Band ที่มีสามารถและ PSI เป็นหัวหอก ทีวีดาวเทียมกลุ่มนี้จะรับสัญญาณดาวเทียมที่ไม่เข้ารหัสจากต่างประเทศได้ด้วย ต่อมาก็พัฒนาเป็นระบบ “จานสี” หรือ KU-Band ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคมเป็นหลัก โดยมีผู้เล่นในตลาดนี้หลายราย เช่น PSI ที่มียอดขายสูงสุด, DynaSAT, InfoSAT หรือ DTV ที่ทำเองโดยบริษัทไทยคมของกลุ่มอินทัช เป็นต้น

ภาวะทางการเมืองที่ร้อนแรงทำให้กลุ่มก้อนการเมืองหันมาทำทีวีดาวเทียมของตัวเอง (เพราะการครอบครองสื่อเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง และกลุ่มการเมืองไม่สามารถแทรกตัวเข้ามายังช่องฟรีทีวีได้มากนักเช่นกัน ทางออกจึงเหลือเพียงทีวีดาวเทียมที่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายจากการที่ไม่มี กสช. ทำหน้าที่กำกับดูแล) และส่งผลให้ยอดขายจานดาวเทียมเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะพื้นที่นอกกรุงเทพ บวกกับปัญหาเรื่องคุณภาพสัญญาณของการแพร่ภาพแบบ terrestrial ทำให้ปัจจุบันมียอดผู้ชมดาวเทียมสูงมาก

เมื่อทั้งเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถรับชมช่องฟรีทีวีแบบ terrestrial ได้เช่นกัน บวกกับคุณภาพสัญญาณที่ดีกว่า (ไม่โดนตึกบังหรือคลื่นรบกวน) และจำนวนช่องที่มีให้เลือกเยอะกว่าในราคาที่ไม่แพงนัก ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมาดู “ทีวีทางเลือก” แทนการใช้เสาก้างปลาแบบเดิม


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, June 11, 2012

โครงสร้างการแข่งขันทีวีไทย

“ฟรีทีวี” ในปัจจุบันทั้ง 6 ช่องว่าเป็นทีวีที่ใช้การแพร่ภาพผ่านเสาอากาศ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า terrestrial TV ซึ่งจะส่งสัญญาณเป็นอะนาล็อกหรือดิจิทัลก็ได้ โดยปัจจุบันระบบของเมืองไทยยังเป็นอะนาล็อกทั้งหมด และมีแผนจะเริ่มใช้การแพร่ภาพแบบดิจิทัลช่วงปลายปีนี้ โดยผู้อนุมัติคือ กสทช. แต่ทั้งหมดเป็นการส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศก้างปลาที่พบเห็นทั่วไป

ฟรีทีวีทั้ง 6 ช่องถือเป็นการผูกขาดตลาดอย่างสมบูรณ์ โดยทีวีจำนวนถึง 4 ช่องเป็นทีวีของหน่วยงานของรัฐ เช่น ช่อง 5 เป็นของกองทัพบก ช่อง 9 ของ อสมท ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ และ Thai PBS ที่เป็นทีวีสาธารณะ ส่วนช่อง 3 กับช่อง 7 เป็นเอกชนดำเนินการภายใต้คู่สัมปทานของรัฐยาวนานหลายสิบปี ไม่มีช่องให้เอกชนรายอื่นเข้ามาแทรกได้เลย




บริษัทเอกชนที่เข้ามาทำสัญญากับรัฐและสร้างกำไรมหาศาลจากการทำสถานีทีวีก็คือ กลุ่ม BEC ของช่อง 3 และกลุ่ม BBTV ของช่อง 7 เท่านั้น ในขณะที่บริษัทด้านทีวีรายอื่นๆ เช่น กลุ่มเนชั่น กลุ่มแปซิฟิก กลุ่มกันตนา กลุ่มแกรมมี่ กลุ่มอาร์เอส กลุ่มเวิร์คพอยต์ ฯลฯ เป็นได้อย่างมากก็แค่ “ผู้ผลิตรายการ” ป้อนทางทีวีทั้ง 6 ช่อง มีอำนาจต่อรองในเรื่องผังรายการและโฆษณาต่ำกว่าการเป็นเจ้าของโฆษณาเองมาก

แหล่งที่มา : siamintelligence



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Friday, June 8, 2012

ระบบ TV ดาวเทียม

ในขณะที่กำลังมีการขยายตัวและได้รับความนิยมอย่างมากในการดู TV ระบบดิจิตอล โดยเฉพาะทีวีผ่านดาวเทียม ซึ่งมีผู้ให้บริการหลายรายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดูจากสีจานเช่น แดง ส้ม เหลือง ดำ ฯลฯ ทั้งแบบฟรีทีวีและแบบมีค่าบริการ เรามาทำความรู้จักกับทีวีดาวเทียมด้านจานรับกันหน่อย


ภาพจากอินเตอร์เน็ต


เสาอากาศหรือจานรับทีวีจากสัญญาณจากดาวเทียม ที่ใช้งานทั่วไปมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบ C Band และ ระบบ Ku Band (Kurtz-under band) 


จานรับ TV ดาวเทียม C Band และ Ku Band แตกต่างกันอย่างไร
  1. ความเข้มของสัญญาณ C Band ที่ส่งลงมาจากดาวเทียม ความเข้มจะน้อยกว่า Ku Band 
  2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ  C Band จะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างกว่าทั้งแบบ Regional และ  Global แต่ระบบ  Ku Band จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะที่เล็กกว่า ทั้งแบบ Spot Beam และ Steerable Beam ในทางเทคนิคจึงส่งสัญญาณ C Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน
  3. ขนาดของจานรับสัญญาณ C Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบก็ได้ รูปพาราโบลิค เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8-3.5 เมตร  ส่วน Ku Band จะเป็นจานทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.35 - 1.80 เมตร และจากการที่ความเข้มของสัญญาณที่แรงกว่า จึงทำให้ระบบ Ku Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า  C Band ได้ 2-3 เท่า
  4. ลักษณะของแผ่นสะท้อนของจานรับ ระบบ Ku Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี  ในขณะที่  C Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ และสามารถใช้จานแบบ C Band รับสัญญาณระบบ Ku Band ได้ แต่ไม่สามารถนำจาน Ku Band มารับสัญญาณ C Band ได้
  5. หัวรับสัญญาณ ทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นกระเปาะ อยู่บริเวณจุดรับคลื่นสะท้อนมารวมกันบนจานรับ เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้เป็นความถี่ต่ำลง ให้เหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับ สัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C Band จะรองรับความถี่ 4-8 GHz (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) ส่วน Ku Band รองรับความถี่ 12-18GHz จึงใช้ LNBF แทนกันไม่ได้ แต่บางยี่ห้อทำแบบ 2 ระบบบรรจุไว้ในตัวเดียวกัน
  6. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยปรกติใช้ร่วมกันได้ แต่เครื่องรับบางชนิดรับได้เฉพาะระบบ เช่นที่สั่งผลิต เช่นของ UBC จึงไม่สามรถนำมาใช้ทั่วไปได้ เครื่องรับสัญญาณทั่วไปสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ โดยต้องตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้อง
  7. และระบบ Ku Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูงกว่า ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณได้ไม่ดี หรือรับไม่ได้ในขณะที่เมฆหนา ฝนตกหนักหรือหิมะ แต่ระบบ  C Band จะไม่ค่อยมีปัญหานี้

แหล่งที่มา : dvbthai blog



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Saturday, June 2, 2012

กสทช.ยืนยันคนไทยได้ดูทีวีดิจิตอลในสิ้นปี จะเริ่มทดลองออกอากาศจากฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

กสทช.ประเมินว่า จะเกิดการลงทุนจากการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมดิจิตอลกว่าหลักแสนล้านบาทในช่วง 3 ปีนี้ และจะให้ฟรีทีวี เริ่มทดลองออกอากาศในช่วงแรก

ปัจจุบันประเทศไทยออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน หรือ ฟรีทีวี 6 ช่อง โดยคาดว่าระบบดิจิตอลทีวีจะเข้ามาแทนระบบอนาล็อกได้ในปี 2558 ตามแผนที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วางไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถดูฟรีทีวีได้มากถึง 100 ช่อง จากการพัฒนาระบบทางเทคโนโลยี โดยขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างดำเนินการในการคัดเลือกรูปแบบระบบการให้บริการทีวีดิจิตอลในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนมิถุยายนนี้ ซึ่งเวลานี้ไทยพีบีเอส เป็นสถานีฟรีทีวี ที่มีความพร้อมในการปรับตัวมากที่สุด เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับระบบดิจิตอลมากที่สุด ทั้งนี้ กสทช.คาดว่าการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการลงทุนทั้งระบบมากถึงหลักแสนล้านบาทในช่วงเวลา 3 ปีนี้

การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ทีวีดิจิตอล กสทช.อาจเริ่มหลังจากทดลองออกอากาศแล้ว สำหรับฟรีทีวีในช่วง 3 เดือนแรก เพื่อระบบความพร้อมด้านเทคนิคในระบบการเปลี่ยนผ่าน จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการให้ใบอนุญาต ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ โดยกำหนดช่วงเวลาไว้ 1 ใบ มีเวลาประกอบการได้ 15 ปี

แหล่งที่มา : thaipbs



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Friday, June 1, 2012

มาตรฐาน DVB-T2


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

DVB-T2 ย่อมาจาก Digital Video Broadcasting – Second Generation Terrestrial เป็นมาตรฐานที่พัฒนามาจากมาตรฐาน DVB-T โดยนำเทคนิคการมอดูเลต (Modulation) และการเข้ารหัสแบบใหม่ (Encoding) มาใช้เพื่อให้การใช้สเปกตรัมในการส่งสัญญาณประเภทเสียง วิดีโอ และข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับหลักการทำงานนั้น DVB-T2 ใช้การมอดูเลชัน (Modulation) แบบ OFDM (orthogonal frequency division multiplex) เช่นเดียวกับมาตรฐาน DVB-T สาหรับการแก้ไขข้อมูลผิดพลาดนั้น DVB-T2 ใช้วิธีการเข้ารหัสแบบที่ใช้กับมาตรฐาน DVB-S2 ได้แก่การเข้ารหัสแบบ LDPC (Low Density Parity Check) ซึ่งใช้ร่วมกับการเข้ารหัสแบบ BCH (Bose-Chaudhuri-Hocquengham) ทำให้สัญญาณที่ถูกเข้ารหัสทนทานต่อสัญญาณแทรกสอด (Interference) และสัญญาณรบกวน (Noise) ที่มีระดับสูงได้ดี

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกจำนวนคลื่นพาห์และขนาดของช่วงป้องกัน (guard interval) ได้หลากหลายมากขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐาน DVB-T และหากเลือกใช้ค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณจะทำให้การส่งมีประสิทธิภาพ โดยการเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์และรายละเอียดทางเทคนิคระหว่าง DVT-T และ DVB-T2 แสดงได้ ดังตาราง



นอกจากนี้มาตรฐาน DVB-T2 ยังใช้เทคนิคแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Rotated Constellations ทำให้สัญญาณมีความทนทานมากขึ้นในช่องสัญญาณบางประเภท และ DVB-T2 ยังได้ใช้ Alamouti code ในการปรับปรุงให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ในโครงข่ายความถี่เดียว (single-frequency networks) มากขึ้น

แหล่งที่มา : http://dvbthai.blogspot.com/2011/01/dvb-t2.html


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online