Amazon Electronics

Tuesday, October 2, 2012

เคาะแล้ว!!ทีวีดิจิตอลประเทศไทย มี 48 ช่อง เป็นระบบ HD 5 ช่อง

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 1 ตุลาคม มีมติสรุปช่องรายการดิจิตอลทีวีของประเทศไทย ก่อนนำเสนอต่อ กสทช.พิจารณา ในวันที่ 10 ตุลาคม โดยแบ่งเป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด

พ.อ.นทีกล่าวว่า ในส่วนของการให้ใบอนุญาตในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการให้ใบอนุญาตผู้ประกอบการโครงข่าย และดิจิตอลทีวีในกลุ่มช่องบริการสาธารณะ จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 จึงเปิดให้มีการประมูลช่องรายการในกลุ่มธุรกิจ และในกลุ่มช่องบริการชุมชนในเดือนพฤศจิกายนปี 2556 ซึ่ง กสท.ยังได้ให้คณะอนุกรรมการศึกษาในเรื่องของการกำหนดอัตราถือครองช่องรายการขั้นต่ำของผู้ประกอบการ โดยจะทำการประเมินจากศักยภาพด้านการดำเนินงานของผู้ประกอบการ

“สำหรับส่วนราคาตั้งต้นของการประมูล ขณะนี้กำลังรอผลการศึกษาจากทีมอนุกรรมการ แม้ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าจะสามารถรู้ผลเมื่อไร แต่คาดราคาที่ออกมาได้จะไม่สูงมากนัก เนื่องจากเราต้องการให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนไปใช้ในการสร้างเนื้อหารายการดีๆ มากกว่าเอามาใช้ลงทุนประมูล ทั้งนี้ในการศึกษาการกำหนดราคาจะใช้วิธีการประเมินมูลค่าคลื่นเช่นเดียวกับการคิดมูลค่าในกิจการโทรคมนาคม” พ.อ.นทีกล่าว

พ.อ.นทีกล่าวว่า นอกจากนี้ในส่วนของเนื้อหารายการหากผู้ประกอบการจะนำช่องรายการที่มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองสนับสนุนเสื้อสี หรือกลุ่มพรรคการเมือง ในเบื้องต้น กสท.สามารถอนุญาตให้ทำได้ แต่ห้ามฝ่าฝืน ม.37 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ว่าด้วยการไม่เผยแพร่รายการที่ออกอากาศจะต้องไม่กระทบกระเทือนหรือดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ แสดงออกโดยจงใจก่อให้เกิด การเหยียดหยามประเทศชาติ รัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือกลุ่มชนใด ลบหลู่ศาสนา ปูชนียบุคคล ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ หรือกระทบต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมอันดีงาม กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ยั่วยุกามารมณ์หรือลามกอนาจาร รวมทั้งตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พรรคการเมืองห้ามเป็นเจ้าของสื่อ

แหล่งที่มา :

Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, September 18, 2012

DLNA คืออะไร

DLNA คือตัวย่อของเทคโนโลยี่ที่มีชื่อเต็มๆว่า Digital Living Network Alliance หากเราสังเกตุดีๆสมัยนี้จะเห็นเครื่องหมาย DLNA certifiedมีอยู่ตามอุปกรณ์ต่างๆเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ,แท็บเล็ต Android หรือคอมพิวเตอร์ยี้ห้อต่างๆ



แต่ที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ก็คือเทคโนโลยี่ DLNA ที่มันถูกบรรจุอยู่ใน TV รุ่นใหม่ๆทั้งหลายไม่ว่าจะ LCD, LED หรือ 3D TV ก็ตามหากว่ามันรองรับ DLNA แล้วหละก็เป็นอันว่าหลักการทำงานจะคล้ายๆกันหมด

DLNA สร้างมาเพื่อการแบ่งปันซึ่งกันและกันของอุปกรณ์ต่างๆ(ที่รองรับDLNA) ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หนัง,เพลงหรือรูปภาพทั้งหมดจะสามารถแชร์กันได้ในรูปแบบที่ไร้สาย เปรียบเสมือนว่าเรามีเครื่อข่ายความบันเทิงย่อมๆ

สมมุติว่าเรามีไฟล์หนังที่เสียเงินโหลดมาแล้วอย่างถูกลิขสิทธิ์อยู่ในโทรศัพท์มือถือ จะดูผ่านจอมือถือก็เล็กไปจะก็อปปี้ใส่แผ่นใว้ดูก็กลัวจะละเมิดทรัพสินทางปัญญาของชาวบ้านเค้าอีก....TVกับมือถือเรารองรับเทคโนโลยี่ DLNA นี่หว่า? ว่าแล้วก็เปิดไฟล์หนังที่มันอยู่ในมือถือดูจาก TV ซะเลย

โหมดการทำงานหลักๆของ DLNA


จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน


•Digital media servers (DMS) - เป็น Server สามารถแชร์ไฟล์ต่างๆให้เครื่องอื่นๆมาดึงไฟล์ไปใช้ได้
•Digital media players (DMP) - เป็น Player ดึงไฟล์เครื่องอื่นๆมาใช้อย่างเช่นตัวอย่างที่กล่าวไปข้างต้น
•Digital media controllers (DMC) - เป็นตัวควบคุม ดึงไฟล์จากเครื่องนึง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องนึง
•Digital media renderers (DMR) - เป็นตัวแสดงผล เวลามีตัวอื่นโยนไฟล์มาให้
อุปกรณ์บางตัวรองรับ DLNA ก็จริงแต่อาจจะใช้งานได้ไม่ครบทุกโหมดการทำงานที่กล่าวมานะครับขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์นั้นๆด้วยอย่างSamsung Galaxyจะสามารถใช้งานได้ครบเกื่อบทุกโหมดการใช้งาน(DMS,DMP,DMC) ยกเว้นโหมด DMR เป็นต้น (*Galaxy สามารถใช้DLNAได้ตั้งแต่รุ่น SLขึ้นไปแต่ว่าความสามารถในการรองรับไฟล์อาจได้ไม่เท่ากัน)

การใช้งาน DLNA กับ TV นั้นบางรุ่นนั้นอาจต้องซื้อตัวรับส่งสัญญาณ WiFi เพิ่มเติมด้วยนะครับเพราะการทำงานของ DLNA จะอาศัยการส่งข้อมูลผ่าน WiFi


แหล่งที่มา : smartinternettv

Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, September 11, 2012

กสท.ดีเดย์ขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอล-ทีวีดาวเทียม ต.ค.

กสท.คาด ต.ค.นี้เปิดให้ผู้ประกอบการขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอล-ทีวีดาวเทียมแน่ หลังล่าสุดบอร์ด กสท.ผ่าน 4 ร่างประกาศพื้นฐานก่อนชงบอร์ด กสทช. พิจารณา 12 ก.ย.นี้
      
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (10 ก.ย.) ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) มีมติในการอนุมัติร่างประกาศ กสทช. ภายหลังรับฟังความเห็น ประกอบด้วย 1. หลักเกณฑ์และวิธีอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 2. หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 3. หลักเกณฑ์และวิธีอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และ 4. หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย หรือติดตั้ง เครื่องรับ เครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับใช้รับหรือแปลงสัญญาณในการรับรายการของกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก
      
อย่างไรก็ดี ร่างประกาศ กสทช.ทั้ง 4 ร่างดังกล่าว ภายหลังรับฟังความคิดเห็นแล้วได้มีการแก้ไขรายละเอียดเพียงบางจุดเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด อาทิ การกำกับหมวดช่องรายการ ได้กำหนดใหม่ให้ต้องกระทำโดย กสทช.เท่านั้น และในประเด็นการกำหนดระยะเวลาการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการจากเดิมที่เป็นในลักษณะขั้นบันไดคือจากเดิม 1 ปี 3 ปี และ 12 ปี ตามลำดับ เปลี่ยนเป็น ครั้งแรก 1 ปี และครั้งต่อมา 14 ปี เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาในการเข้าสู่ระบบ เป็นต้น
      
ทั้งนี้ กระบวนการต่อไปบอร์ด กสท.จะนำร่างดังกล่าวทั้งหมดเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กสทช.อีกครั้งในวันที่ 12 ตุลาคมนี้ จากนั้นเมื่อบอร์ดอนุมัติแล้วจะนำไปขอประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
      
“ร่างประกาศทั้งหมดถือเป็นร่างพื้นฐานก่อนที่จะออกใบอนุญาตทุกประเภทตามมา เช่น โครงข่ายทีวีดิจิตอล และทีวีดาวเทียม ซึ่งปกติการพิจารณาจะใช้เวลานานมาก แต่ด้วยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของ กสท.จึงทำให้งานเร็วขึ้น คาด กสทช.จะสามารถเปิดให้ผู้ประกอบการเข้ามาขอใบอนุญาตในเดือนตุลาคมนี้ จากนั้นจะให้มีการเปิดอบรมสัมมนาให้ความรู้ในการขอใบอนุญาตในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคมในทันที”
      
พ.อ.นทีกล่าวอีกว่า บอร์ด กสท.ยังมีมติอนุมัติการเพิกถอนสิทธิการเป็นผู้ทดลองออกอากาศในลักษณะชั่วคราว หรือวิทยุชุมชน ในกลุ่มผู้ที่ไม่มาขอรับการต่ออายุใบอนุญาตการทดลองออกอากาศ สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ออกใบอนุญาตทดลองออกอากาศแก่ผู้ประกอบการจำนวน 6,600 ราย ไปตั้งแต่เมื่อปี 2552 เป็นเวลา 300 วัน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 พร้อมกันนี้ยังได้กำหนดการต่อระยะเวลาออกอากาศ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่ได้รับใบอนุญาตทดลองใช้มาขอแจ้งสิทธิใหม่ ซึ่งภายหลังพบว่ามีจำนวน 699 สถานีไม่แสดงตน และ 24 สถานีไม่ทำต่อ อีก 3 สถานีที่มีความซับซ้อนในการดำเนินงาน ดังนั้น บอร์ด กสท.จึงมีมติยกเลิกใบอนุญาตผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ทั้งหมดเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในเบื้องต้น

แหล่งที่มา : Manager Online
 

Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, August 20, 2012

จานดาวเทียม ระบบ C-Band และ Ku-Band แตกต่างกันอย่างไร

1. ระบบ C-Band จะส่งสัญญาณครอบคลุมทั้งทวีป ในหลายๆ ประเทศ ใช้จานรับสัญญาณตั้งแต่ 5 ฟุต หรือ 150cm.ขึ้นไป จึงจะรับสัญญาณได้ดี ซึ่งต่างก็แข่งขันกันที่ราคา และคุณภาพ สามารถซื้อหามาได้ในราคาถูกกว่าเมื่อก่อนมาก  แต่ละบริษัทต่างก็มีจุดขายในตัวเอง ทำให้เลือกได้ง่าย ส่วนของรายการที่ส่งฟรีนั้น ทุกยี่ห้อก็รับได้เหมือนกันหมด
 จานดาวเทียมระบบ C-BAND มีหลายยี่ห้อ ดังนี้
- PSI
-Dynasat
-IDEA Sat
-IPM
-Leo Tech
2. ระบบ Ku-Band จะส่งสัญญาณครอบคลุมเฉพาะในประเทศ หรือไปแถวประเทศเพื่อนบ้านบ้าง เช่น UBC  สามารถใช้จานขนาดเล็ก ตั้งแต่ 35 cm ขึ้นไป ก็สามารถรับสัญญาณได้ แต่จะมีปัญหาเวลาฝนตกหนัก ๆ จะไม่สามารถรับชมได้
จานดาวเทียมระบบ Ku-Band มีหลายยี่ห้อ ดังนี้
-  จานดาวเทียม DTV เป็นชุดจานดาวเทียมรับทีวีไทย ราคาถูก ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย รับสัญญาณที่ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นจานสีเหลือง มีขนาดเล็กเพียง 60-75 ซ.ม. ใช้กับเครื่องรับดาวเทียม DTV เป็นแบบถอดรหัสในตัว ทำให้สามารถรับทีวีไทย 6 ช่อง บวกกับช่องที่ส่งให้ดูฟรีอีก 50กว่าช่อง ได้แก่ ช่องการ์ตูน,ภาพยนตร์,เพลงลูกทุ่งและ เพลงสตริงจากค่ายดัง,ช่องกีฬา,ช่องเพื่อการศึกษา 15 ช่อง, ETV, MONEY, DMC, TVTV, TGN,  ช่องรัฐสภา  แต่ถ้าจะดู ช่องสารคดีสำรวจโลก เพิ่ม ก็ต้องซื้อบัตรเติมเงิน
-  จานดาวเทียม IPM รับสัญญาณที่ดาวเทียม NSS6 เป็นจานดาวเทียมสีส้ม ขนาดเล็ก 60-75cm. รับทีวีไทยเช่นกัน และยังมี ช่องลิขสิทธิ์ ของบริษัท IPM ให้ดูอีกมากมาย เช่น การ์ตูน,ภาพยนตร์ต่างประเทศหลายช่อง มีทั้งพากย์ไทย และ Sound Track,สารคดี,รายการโชว์ของภาคต่างๆ 4ภาค และช่องข่าวการเมือง
-  จานดาวเทียม TRUE VISION เป็นช่องรายการลิขสิทธิ์ ท่าจะรับชมได้ก็ต้องเสียค่าสมาชิกรายเดือน ตามเงื่อนไข ของแต่ละแพ็คเกจ ช่องรายการดีๆ ก็จะอยู่ที่แพคเกจที่ราคาสูงหน่อย
ถ้าต้องการดูรายการ Discovery, HBO ,CNN ,STAR SPORT ฯลฯ
-  ต้องสมัครสมาชิก TRUE VISION เพราะ เป็นช่องรายการลิขสิทธิ์  ไม่สามารถรับชมแบบฟรีๆได้
ถ้าเน้นกีฬาถ่ายทอดสด ฟุตบอลต่างประเทศ ?
 -  ดูได้จากช่องของต่างประเทศที่ทำการถ่ายทอด แต่มีน้อยมากและไม่แน่นอน ถ้าอยากดูจริงๆ แนะนำให้ติดจานดาวเทียม TRUE VISION ไปเลย แต่ต้องเสียค่ารายเดือน ไม่มีฟรีค่ะ
 คราวนี้ มาดูว่าจะเลือกซื้ออย่างไร

การเลือกซื้อสินค้า ให้พิจารณาที่
ราคา   จานดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่ยิ่งดี แต่ราคาจะสูงขึ้น ถ้าขนาดเท่ากันต้องดูราคาส่วนต่างว่า ชุดที่ราคาสูงกว่ามีอะไรที่เหนือกว่า และคุ้มค่ากับราคาที่สูงกว่าหรือไม่
คุณภาพ  สินค้าคุณภาพดีกว่า ย่อมแพงกว่าเป็นเรื่องปกติ
บริการ  ให้ดูว่าเมื่อสินค้ามีปัญหา ยี่ห้อไหนให้บริการและรับผิดชอบดีกว่า มีศูนย์บริการรองรับที่ดีก็เลือกยี่ห้อนั้น ทุกวันนี้ของราคาถูก ต้องเน้นเรื่องบริการ
และร้านที่ติดตั้งนั้น ต้องมีอะหลั่ยสำรองใว้ เพื่อดูแลลูกค้าได้ทันทีเมื่อเครื่องมีปัญหา ไม่ต้องรอส่งไปศูนย์ใหญ่ จะทำให้ล่าช้า
ยี่ห้อ  ดูยี่ห้อที่มีชื่อเสียงไว้ใจได้ ที่สำคัญต้องมีความรับผิดชอบต่อสินค้า

แหล่งที่มา satapp.com


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, August 14, 2012

ระยะห่างในการรับชมที่เหมาะสม และ จะซื้อ LCD TV ใหญ่ขนาดไหนดีนะเรา ?

หลายๆท่านยังเข้าใจผิดคิดว่า ยิ่งจอ LCD หรือ Plasma TV ที่มีขนาดใหญ่จากเท่าไหร่ ก็จะทำให้ได้รับชมภาพได้ชัดเจนขึ้นมากเท่านั้น แต่จริงแล้วมันจะต้องขึ้นอยู่กับระยะในการรับชมของท่านด้วยนะครับ ถึงจะได้การรับชมภาพที่ดีที่สุด


ผมมีตารางตัวอย่างให้ดูด้านล่างนะครับว่า LCD หรือ Plasma TV ขนาดต่างๆควรมีระยะในการรับชมเท่าไหร่กันนะครับ

ขนาดหน้าจอ (นิ้ว)         ระยะนั่งใกล้ที่สุด              ระยะนั่งไกลที่สุด         

         26                                       0.98                                1.95
         32                                       1.25                                2.50
         42                                       1.58                                3.15
         47                                       1.76                                3.53
         50                                       1.88                                3.75
         55                                       2.06                                4.13
         60                                       2.25                                4.50
         70                                       2.63                                5.25
         80                                       3.00                                6.00

*** ระยะนั่งชมหน่วยเป็น "เมตร" ***

หลังจากดูตารางนี้แล้วก็จะทำให้ท่านรู้ได้ว่า LCD หรือ Plasma TV ที่จะเหมาะกับห้องของท่านควรจะมีขนาดเท่าไหร่แล้วนะครับ อยากไปซื่อที่ใหญ่เกินไปนะครับแล้วจะเสียใจที่เสียเงินไปตั้งเยอะแต่ได้ภาพที่ไม่ประทับใจ หรืออย่าซื้อที่เล็กจนเกินไปนะครับ เพราะจากคำบอกเล่าของผู้ใช้ LCD หรือ Plasma TV มักจะบอกว่าดูไปดูมาจอมัน "หดลงเอง"!!!!!!!!


จึงทำให้ในยุคนี้หากมีระยะห่างการรับชม 2 เมตรเป็นต้นไป ทีมงานแนะนำว่าขั้นต่ำต้องระดับ 42" แล้วครับ !!


แหล่งที่มา : lcdtvthailand.com


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, August 7, 2012

กสท.มั่นใจ ต.ค.เปิดทีวีดิจิตอลสาธารณะแน่


กสท. เชื่อต.ค.นี้เล็งเปิดขอใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิตอลทีวีในประเภทช่องทีวีสาธารณะแน่ ก่อนเปิดประเภทเชิงพาณิชย์ ต้นปี 56 หลังบอร์ดมีมติผ่าน 3 ร่างฯประกาศทีวีดิจิตอล
       
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) กสท. วันที่ 6 ส.ค. มีมติเห็นชอบในการผ่านร่างประกาศทั้ง 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1. ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล 2.ร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และ3. ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล
       
ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไปกสท.จะนำร่างทั้ง 3 ร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด กสทช. ในวันที่ 22 ส.ค. นี้ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการรับฟังความเห็นเป็นเวลา 45 วันต่อไป โดยคาดว่าประมาณช่วงเดือน ก.ย. จะสามารถประกาศลงราชกิจานุเบกษาได้ และจากนั้นภายในเดือน ต.ค.ก็สามารถออกใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิตอลในประเภทกิจการสาธารณะได้
       
อย่างไรก็ดี 3 ร่างฯประกาศดังกล่าวถือเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากทีวีอนาล็อกไปสู่ดิจิตอลทีวี ซึ่งคาดในช่วงเดือนตุลาคมปีนี้ จะสามารถเปิดให้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิตอลทีวีในประเภทช่องทีวีสาธารณะก่อน ซึ่งในประเภทดังกล่าวไม่จำเป็นต้องทำการประมูลแต่อย่างใดจึงสามารถจัดสรรให้ได้ทันที ซึ่งจะเปิดให้มีการขอใบอนุญาตประเภททีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลทีวีด้วยเช่นเดียวกัน
       
ขณะที่การประกอบกิจการทีวีดาวเทียมประเภทช่องทีวีสาธารณะ ซึ่งตามกฏหมายกำหนดให้ต้องมีการประมูลซึ่งคาดว่าจะเปิดให้มีการประมูลได้ในช่วงต้นปี 2556ทั้งนี้ในส่วนของการกำหนดจำนวนช่องของทีวีดิจิตอลในแต่ละประเภท ในขณะนี้อยู่ในระหว่างรอพิจารณาจากผลการศึกษาของ ม.ธรรมศาสาตร์ และ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ที่จะส่งมาให้ในช่วงเดือนกันยายนนี้
       
แม้กำหนดการณ์ทั้งหมดจะคลาดเคลื่อนไปบ้างจากเดิมที่คาดว่าจะเปิดช่วงเดือนกันยายนเป็นเดือนตุลาคมแทน แต่ยังยืนยันว่าทั้งหมดเป็นไปตามกระบวนการเดิมไม่ได้ล่าช้า โดยตุลาคมนี้จะสามารถเริ่มออกใบอนุญาตได้อย่างแน่นอน


แหล่งที่มา : Manager Online


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Smart TV และ Internet TV มันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? (Part 2)

Application on Smart TV :
สำหรับทีวีบางรุ่นนั้นจะมีความสามารถในการติดตั้งใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆได้ เช่น Samsung / LG / Philips ในจุดนี้เองท่านที่เคยใช้งาน Smart Phone ทั้ง Android หรือ iOS จะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะว่าใช้หลักการเดียวกัน คือเมื่อเราต้องการใช้งานตัวไหนก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก Server กลางของแต่ละค่ายได้ทันที และที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมครับ แอพพลิเคชั่นบางชนิดเมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว การใช้งานในครั้งต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ Internet อีก เช่น เกมส์ต่างๆ แต่สำหรับรุ่นที่ไม่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ ก็สามารถอัพเดทผ่านทางเฟิร์มแวร์ของตัวเครื่องได้เช่นกัน ( วิธีการอัพเฟิร์มแวร์ก็ง่ายมาก เพียงแค่เชื่อมต่อ Internet ไว้และไปที่เมนูอัพเดท ซอฟแวร์ ในการตั้งค่าทีวี ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ) ส่วนประเภทของแอพพลิเคชั่นต่างๆผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็คือ

1. Local Content : คือแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เป็นของคนไทย ภาษาไทย ใช้งานได้อย่างสะดวกเช่น MTHAI , Major Cineplex , SF Cinema , Traffy , Nation Channel

2. Global Content : คือแอพพลิเคชั่นที่เป็นสากลใช้กันทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น Youtube , Facebook , Skype

ท่องเว็บไซต์ต่างๆไปพร้อมกับ Web Browser : 
 

อีกหนึงความสามารถของ Smart TV ,  Internet TV นั่นก็คือ การเข้าเว็บไซต์ต่างๆได้อย่างอิสระ เสมือนว่าเราเปิดจากคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว โดยจะไม่ต้องเสียเวลาเชื่อมต่อให้วุ่นวาย แต่ว่าข้อจำกัดอย่างการพิมพ์ภาษาไทย ต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมอื่นเข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งผมจะอธิบายในส่วนต่อไปครับ และการแสดงผลอย่าง Flash หรือ Java Script ก็ทำได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ( ยกเว้นบางรุ่นเท่านั้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีเฟิร์มแวร์ออกมาช่วยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น )


การควบคุม Smart TV , Internet TV ในรูปแบบต่างๆ
มาต่อกันที่ส่วนของการควบคุมกันครับ หลายๆท่านอาจจะยังสงสัยว่า " เอ๊ะ ! ฟังก์ชั่นของทีวีนั้นมีเยอะมาก แต่ปุ่มในรีโมทมันเป็นแค่ตัวเลข และปุ่มทิศทางเท่านั้น เวลาพิมพ์จะสะดวกหรือเปล่า "  จริงๆแล้วการควมคุมให้ง่ายขึ้นก็เป็นเรื่องที่ทางแต่ละยี่ห้อต้องพยายามปรับตัวเข้าหาผู้บริโภคอย่างเราๆกันให้มากที่สุด เพื่อให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะความยากง่ายในการควบคุมทีวีก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยตัดสินใจเลือกซื้อ Smart TV เช่นกัน

1. ควบคุมจากรีโมททีวี : โดยปกติแล้วทุกยี่ห้อจะคล้ายๆกันทั้งหมด อาจจะแตกต่างกันในด้านการวางตำแหน่งและดีไซน์ ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ปุ่มควบคุมทิศทาง จะใช้ในการเลื่อนตำแหน่งไปยังส่วนที่ต้องการ และปุ่ม OK เพื่อใช้เลือก วิธีการพิมพ์ก็จะทำได้แค่ "ภาษาอังกฤษ" เท่านั้น โดยใช้ปุ่มตัวเลขเป็นแป้นคีย์บอร์ด ( เช่นเลข 2 บนรีโมทจะมี A B C  ถ้าต้องการพิมพ์ C ให้กดเลข 2 จำนวน 3 ครั้ง )


ตัวอย่างรุ่น LW6500
 
2. ควบคุมจากอุปกรณ์เสริมของแต่ละค่าย : ในจุดนี้ก็ขึ้นอยู่กับแบรนด์ต่างๆ ที่จะมีลูกเล่นอะไรมาดึงดูดลูกค้า ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน มาดูอย่างแรกกันครับจาก Samsung ช่วยทำ Qwerty คีย์บอร์ดมา เวลาใช้งานด้านการพิมพ์ค้นหาต่างๆก็ทำได้อย่างสะดวก 



 
ถัดมาก็คือตัว Magic Motion Remote จากทาง LG ที่ใช้รีโมทเป็นตัวชี้ไปยังหน้าจอทีวี และใช้ปุ่มเพียงปุ่มเดียวควบคุมได้ทุกอย่าง ง่ายต่อการใช้งานอีกเหมือนกัน ( คล้ายๆกับการใช้งานของ Nintendo Wii )
 


 
3. ควบคุมจาก Application บน Smart Phone : สำหรับวิธีนี้ต้องการ Smart Phone รุ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Android หรือว่า iOS ก็สามารถเข้าไปค้นหา แอพพลิเคชั่น รีโมท จากทาง Android Market หรือ App Store ได้ฟรี ข้อดีคือจะทำให้สามารถพิมพ์ " ภาษาไทย " ได้ และมีความคล่องตัวในการใช้งานมาก โดยการเชื่อมต่อนั้นจะต้องเชื่อมต่อผ่านวง LAN เดียวกันกับตัวทีวีด้วยครับ
 

แอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจ ห้ามพลาด !! ถ้าคุณใช้ Smart TV, Internet TVแอพพลิเคชั่นสำหรับ Smart TV , Internet TV มีให้เลือกใช้มากมาย ทีวีบางยี่ห้อนั้นมีให้เลือกกว่า 1,000 แอพเลยทีเดียว แต่สำหรับอันที่เป็นที่นิยมผมก็ขอรวบรวมมาแนะนำให้เลือกใช้กันครับ 

1. Facebook : 
อย่างแรกเลยที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคนี้ก็คือ Social Network ยอดฮิตอย่าง Facebook นั่นเอง ถือว่าเป็นแอพพลิเคชั่น "ยอดนิยม" สำหรับทุกเพศทุกวัย โดยประมาณ 90% ของ Smart TV จะมีติดมาให้อยู่แล้ว ซึ่งเราสามารถเข้าไปเช็ค New Feeds หรือทำการ Update สถานะได้ทันที รวมไปถึงการคอมเม้นท์ในวอล์ต่างๆ และในบางรุ่นจะสามารถดูทีวีไปพร้อมๆกับเล่น Facebook ได้อีกด้วย แอพพลิเคชั่นจะขึ้นมาอยู่ด้านข้างของจอภาพ ใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
 


 

ตัวอย่างการใช้งาน Facebook พร้อมๆกับดูทีวีไปด้วย 

2. Youtube : สำหรับ Youtube นั้น น้อยคนที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่ "ขาดไม่ได้" สำหรับ Smart TV ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถเข้าไปรับชมคลิปวีดีโอต่างๆได้จากทั่วโลก สามารถค้นหาคลิปวีดีโอที่ต้องการได้ด้วยการใช้เมนูคีย์บอร์ดในตัวเครื่อง พิมพ์คีย์เวิร์ดที่ต้องการลงไป ก็จะได้รายชื่อคลิปวีดีโอที่ต้องการมารับชม


การใช้งาน Youtube Application

3. Accu Weather : เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการพยากรณ์อากาศ โดยที่เราสามารถระบุตำแหน่งของสถานที่ ที่เราต้องการทราบสภาพอากาศได้ โดยส่วนใหญ่จะมีมาให้ในตัวเครื่อง
 

 
4. Skype : อีกหนึ่ง Application ที่มีประโยชน์มากในการสนทนาทั้งภาพและเสียงไปพร้อมๆกัน นั่นก็คือ Skype ครับ ซึ่งต้องอาศัยตัวกล้องที่เชื่อมต่อผ่านช่องต่อ USB มาใช้ควบคู่กันไป จะแตกต่างจากที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ก็คือ ในตัวกล้องจะมีไมโครโฟนรับเสียงอยู่ในตัว ไม่จำเป็นต้องไปต่อเพิ่มแล้ว แถมได้ภาพใหญ่จุใจ เห็นกันชัดๆข้ามโลก อีกด้วย
 

มาดูตัวอย่างการใช้งานกันครับ


จอเล็กๆคือไว้ดูตัวเราเอง ส่วนจอใหญ่ก็คือคู่สนทนาของเรา ตัวกล้องจะอยู่ด้านบนทีวี
 
 5. SF Cinema : เป็นหนึ่งใน Local Content ที่สามารถดูรายละเอียดของหนัง และเช็คเวลาฉายของหนังได้  ถือเป็น Content โดยคนไทย เพื่อคนไทยจริงๆ


 
6. Game : โดยส่วนมากแล้วเกมส์ที่มาให้เล่นกับทีวีนั้นจะเป็นเกมส์แนว "สดใส คลายเครียด ใช้สมองนิดๆ" ครับ ถือว่าใช้เล่นแก้เบื่อได้ดีทีเดียว โดยจะไม่เหมือนกันในแต่ละยี่ห้อ ยกตัวอย่างมาให้ดูเป็นบางเกมส์นะครับ จริงๆมีเยอะกว่านี้อีกมาก
 

SUDOKU เกมส์ใช้สมอง ลองปัญญา


 "Dracula's Coffin" เกมส์เลื่อนลังไม้


ที่เห็นเลื้อยๆแบบนี้ "บันไดงู" นั่นเองครับ


สุดคลาสสิกกับ "เกมส์จับผิด"

Smart TV และ Internet TV มันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? (Part 1)

แหล่งที่มา : lcdtvthailand.com


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Saturday, August 4, 2012

งานเทเลวชชั่น แอนด์อิเล็กทรอนิกส์ แกรนด์เซล 4-12 ส.ค. 55

4-12 ส.ค. 55 งานเทเลวิชชั่น แอนด์อิเล็กทรอนิกส์ แกรนด์ เซล ณ อาคาร 1-4 อิมแพค เมืองทองธานี เวลา 10.30-21.00น. -- FM91TRAFFICPRO (@fm91trafficpro)

Monday, July 30, 2012

Smart TV และ Internet TV มันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? (Part 1)

Smart TV / Internet TV โดยทั่วไปคือทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ด้วยความสามารถของตัวเครื่อง ( Spec ) ที่สูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น ( โปรแกรม ) ได้หลากหลาย  สามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานในโลกออนไลน์ Internet อย่างการใช้ Web Browser , Social Network และอื่นๆ ตามฟังก์ชั่นของ Smart TV / Internet TV แต่ละรุ่น

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีของ TV นั้นพัฒนาไปไกลมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ LCD TV , LED TV , PLASMA TV เชื่อว่าหลายๆท่านคงได้พบเห็นตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้ากันเยอะแล้ว และในปัจจุบันนี้ทีวีจะไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่เอาไว้รับชมรายการโทรทัศน์หรือดูหนังเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังก้าวเข้าสู่โลกของการเชื่อมต่ออย่าง " Internet "  การใช้แอพพลิเคชั่นที่หลากหลายช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ความสามารถในการเล่นเกมส์ การจองตั๋วภาพยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย ทุกอย่างรวบรวมไว้แค่ปลายนิ้วสัมผัส


Smart TV คืออะไร ??
ก่อนจะพูดถึงคำว่า " Smart TV " ผมขอยกตัวอย่างไปถึงคำว่า Smart ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ " Smart Phone " ที่ทุกท่านรู้จักกันดีนั่นเอง เริ่มจากเมื่อก่อนนี้ โทรศัพท์มือถือก็มีความสามารใช้รับสายโทรเข้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันก็มีโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ทั้งกล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นเพลงต่างๆ เชื่อมต่อกับ Internet ดูคลิปวีดีโอ ลงแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น iOS ของ Apple หรือ Android จาก Google นั่นคือที่มาของคำว่า " Smart Phone " 


กลับมาถึงทางด้าน " Smart TV " ก็เช่นเดียวกันครับ เมื่อก่อนทีวีที่ใช้กันตามบ้านก็มีการใช้งานเพียง ดูละคร ดูหนัง ดูข่าว เท่านั้น ยังไม่มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้หลากหลายต้องพึ่งแหล่งข้อมูลจากภายนอกเพียงอย่างเดียวในการแสดงผลเช่น เครื่องเล่น DVD เครื่องเกมส์ Console ต่างๆ แต่ในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ความสามารถของตัวเครื่องสูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย  โดยส่วนใหญ่แล้วความสามารถทั้งหมดจะใช้งานได้ด้วยการท่องไปในโลกออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้จำกัดแค่การเชื่อมต่อ Internet เพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการใช้งานอื่นๆเช่นการเล่นเกมส์ ( โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ) การลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งในแต่ละแบรนด์จะมีความสามารถในการใช้งานและชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ผมขอแยกไว้ตามนี้ครับ


   













Smart TV , Internet TV นั้น ย่อมต้องการ Internet เข้ามาเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานอัพเดทข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ การใช้งานเว็บบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาใช้งานในตัวเครื่อง ซึ่งทีวีแต่ละรุ่นก็มีการเชื่อมต่อไม่เหมือนกัน


ประเภทของการเชื่อมต่อ Internet ของ Smart TV , Internet TV แบ่งได้ 3 ประเภทก็คือ

1. เชื่อมต่อผ่านสาย LAN  ( Wired - ใช้สาย )

2. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Adapter USB  ( Wireless - ไร้สาย )
3. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Built-in ในตัวเครื่อง ส่วนมากจะมีในเฉพาะรุ่นสูงๆเท่านั้น  ( Wireless - ไร้สาย )

ซึ่งหลังจากเชื่อมต่อผ่าน WiFi ในวงเดียวกันแล้วบางรุ่นจะมีความสามารถในการแชร์ไฟล์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเช่นเพลง วีดีโอต่างๆ เพื่อมาแสดงผลทางหน้าจอทีวีได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Notebook , กล้องถ่ายรูป Digital , โทรศัพท์ Smart Phone รุ่นต่างๆ


Smart TV และ Internet TV มันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? (Part 2)

แหล่งที่มา : lcdtvthailand.com


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, July 16, 2012

กสทช. ยัน โอลิมปิก เกมส์ 2012 จอไม่ดำ


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกรจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกมากล่าวถึงความกังวลจากหลายฝ่าย ว่าการทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ จะเกิดเหตุจอดำซ้ำรอยมหกรรมฟุตบอลยูโร 2012 ที่ผ่านมาว่า

การถ่ายทอดการแข่งขันโอลิมปิกช่วงปลายเดือนนี้ (27ก.ค.-12 ส.ค.) จะไม่เกิดปัญหาการปิดล็อคสัญญาณ หรือ จอดำอย่างแน่นอน โดยตนได้รับการยืนยันจาก พล.ท. ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล แล้วว่า

การถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ จะยึดหลักปฎิบัติเหมือนเมื่อครั้งโอลิมปิคกรุงปักกิ่งที่ผ่านมา ไม่ว่าผู้ชมจะรับชมภาคพื้นดิน หรือทีวีดาวเทียม ก็สามารถรับชมได้ เนื่องจากต้องการให้ประชาชนคนไทยมีความสุข ร่วมเชียร์ ร่วมลุ้น กับนักกีฬาไทยไปพร้อมๆ กันในการแข่งขันกีฬาครั้งนี้

“ขอขอบคุณพล.ท.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานทีวีพูล ที่ประสานงานและดำเนินการจนสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และขอขอบคุณผู้ประกอบกิจการฟรีทีวี ที่ยังคงเห็นความสำคัญของการให้บริการแก่คนไทยมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนทางธุรกิจ” พ.อ.นทีกล่าว.

แหล่งที่มา : MThai News



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

สมรภูมิทีวีทางเลือก

ความขัดแย้งระหว่างแกรมมี่กับทรูเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของ “ยุทธการ” แห่งโลกทีวีทางเลือกเท่านั้น ทรูเองเสียรายการฟุตบอลสำคัญๆ ออกไปมาก ถึงแม้จะยังรักษา “อู่ข้าวอู่น้ำ” อย่างพรีเมียร์ลีกอังกฤษได้อยู่อีก 1 ปี (ถึงฤดูกาล 2012-2013) ซึ่งทางแกรมมี่เองก็แสดงท่าทีชัดแล้วว่าต้องการแย่งลิขสิทธิ์นี้มาจากทรูให้จงได้ เพื่อขยายฐานลูกค้าดาวเทียม GMM Z ของตัวเองให้มากขึ้น

เดิมทีทรูเป็นผู้ให้บริการดาวเทียม-เคเบิลทีวีแบบพรีเมียม แต่ภายหลังโดนเคเบิลท้องถิ่นและทีวีดาวเทียมรายต่างๆ เข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ต่ำกว่า (กรณีของดาวเทียมส่วนใหญ่ไม่เสียค่ารายเดือนด้วยซ้ำ) แต่ทรูก็ยังเอาตัวรอดมาได้บ้างเพราะมีลิขสิทธิ์เนื้อหารายการสำคัญๆ เป็นแม่เหล็กดึงดูดอยู่มาก แต่การปรากฏตัวขึ้นของแกรมมี่ที่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ เข้าใจเกมของ content เป็นอย่างดี และคิดการใหญ่ถึงกับสร้างแพลตฟอร์มมาท้าทายทรู ย่อมทำให้ทรูสะเทือนไม่น้อย และออกอาหาร “หวั่นไหว” ดังที่เห็นได้จากการต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโรครั้งนี้

จากการประเมินของ SIU เชื่อว่าถ้าแกรมมี่ยังสามารถเก็บเล็กผสมน้อย ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการสำคัญๆ ได้ต่อไป ก็จะเพิ่มฐานลูกค้าขึ้นมาเบียดทรูได้ในระยะเวลาอันใกล้ กลายเป็น 2 ขั้วอำนาจแห่งโลกทีวีดาวเทียมที่มีอำนาจต่อรองสูง และจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่มีเพียงแค่ content หรือ platform เริ่มมีปัญหาแข่งขันไม่ได้ เพราะการผนวกรวมบริการทั้งหมดของแกรมมี่ทรงพลังกว่ามาก



นอกจากนี้ เกมทีวีทางเลือกยังไม่จำกัดแค่ดาวเทียม แต่ครอบคลุมไปถึง “เคเบิลทีวี” อีกด้วย เดิมทีวงการเคเบิลทีวีประกอบด้วยผู้ประกอบการรายเล็กเป็นจำนวนมาก แต่การก่อตัวของกลุ่ม CTH (Cable Thai Holding) ที่กำลังพยายามรวมวงการเคเบิลทีวีให้เป็นหนึ่ง ก็ยังเป็นที่น่าจับตามาก เพราะการเพิ่มทุนรอบล่าสุดของ CTH มีกลุ่มทุนใหญ่มาสนับสนุนด้วยมากมาย เช่น เศรษฐีหุ้นไทย วิชัย ทองแตง, ตระกูลวัชรพลแห่งเครือไทยรัฐ และที่สำคัญคือแกรมมี่ก็เข้ามาถือหุ้นเพื่อแหย่ขาเข้ามาในตลาดเคเบิลทีวีอีกเช่นกัน (รายละเอียดดูในข่าว เคเบิลไทย (CTH) จับมือไทยรัฐ-วิชัย ทองแตง ระดมทุนซื้อสิทธิพรีเมียร์ลีก)

SIU ประเมินว่ากลุ่ม CTH น่าจะกลายเป็นกำลังสำคัญของวงการเคเบิลในไม่ช้านี้ และร่วมกับ GMM Z และ True เป็นสามขั้วอำนาจหลักของวงการทีวีทางเลือก โดยมีผู้เสียประโยชน์รายสำคัญคือ PSI ที่เป็น platform provider รายใหญ่แต่ยังไม่มี content ของตัวเอง

และสุดท้าย การต่อสู้ของ “ทีวีทางเลือก” จะเริ่มมาบรรจบกับ “ฟรีทีวี” เมื่อการแพร่สัญญาณทีวีระบบดิจิทัล (ที่มีช่องเพิ่มขึ้นมาก) เริ่มใช้งานในประเทศไทย ผนวกกับการสิ้นอายุสัมปทานของช่อง 3 ในปี 2563 และช่อง 7 ในปี 2566 จะทำให้กลุ่มทุนทีวีทุกกลุ่มกลับมาแข่งขันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อนั้นคนที่ได้เปรียบที่สุดคือคนที่มี content ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของคนดูมากที่สุดนั่นเอง


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, July 3, 2012

กสท. เตรียมคลอด Must Carry!


นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และเลขานุการบอร์ดกระจายเสียง (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ ที่ประชุมบอร์ดกระจายเสียง มีมติในการประชุมครั้งที่ 27/2555 วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การนำพาช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Must Carry) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องรายการได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงช่องรายการ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดทำร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว และนำมาเสนอต่อที่ประชุม กสท. ครั้งต่อไป โดยมีกรอบดังต่อไปนี้

1. หลักการของช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV)
- เป็นกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะในการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
 - ช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) จะต้องยอมรับว่าจะไม่สามารถเรียกร้องเพิ่มเติมค่าลิขสิทธิ์ ในกรณีที่เป็นการรับชมในครัวเรือนตามปกติ ในทุกช่องทางภายในประเทศไทย

2. การกำหนดหลักการ Must Carry จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินความจำเป็นแก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์

3. การจัดช่องรายการของโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ในระบบดิจิตอล จะต้องมีการจัดหมวดหมู่

4. มีการกำหนดช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ในบางส่วนที่ผู้ประกอบกิจการบริการโครงข่ายสำหรับกิจการโทรทัศน์
จะต้องนำไปออกอากาศในโครงข่ายของตนเอง เช่น ช่องรายการประเภท กิจการบริการสาธารณะ

5. ช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ประเภท กิจการบริการธุรกิจ ให้ผู้ประกอบกิจการบริการโครงข่ายสำหรับกิจการโทรทัศน์สามารถเลือกเผยแพร่ในดครงข่ายของตนได้ตามความสมัครใจ

6. ช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ที่เป็นระบบอนาล็อกเดิม กำหนดในบทเฉพาะกาลให้ผู้ประกอบกิจการบริการโครงข่ายสำหรับกิจการโทรทัศน์เผยแพร่ในโครงข่ายของตนจนกว่าจะยุติการออกอากาศ

แหล่งที่มา : matichon online



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, July 2, 2012

GMM Z ชน TrueVisions

เดิมทีแกรมมี่เป็นเจ้าของ content รายใหญ่ มีช่องทีวีหลายช่องสำหรับฉายผ่านดาวเทียม-เคเบิลทีวี เช่น

  • Green Channel (ของบริษัทลูก A-Time)
  • ACTS Channel (ช่องละครจากบริษัทลูก Exact/Scenario)
  • Bang Channel
  • Fan TV (ช่องเพลงลูกทุ่ง)
  • Play Channel
  • Saranae Channel (ของกลุ่มสาระแนโชว์)
  • Maxxi Channel (ต่อยอดจากนิตยสาร Maxim)

แต่ปัญหาคือแกรมมี่ไม่มี platform ของตัวเอง ทำให้อำนาจต่อรองต่ำเมื่อเทียบกับ เช่น ถูกย้ายสลับช่องบ่อยๆ โดยแกรมมี่ไม่มีสิทธิ์ต่อรองอะไรมากนัก เมื่อแกรมมี่ตัดสินใจรุกเข้ามาทำ platform ของตัวเองในชื่อ GMM Z (1Sky เดิม) จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจมาก เพราะแกรมมี่กำลังพัฒนาตัวเองจาก “ผู้ให้บริการ content รายใหญ่” ขึ้นมาเป็น “platform+content provider” ท้าทาย True Visions โดยตรง เพราะก่อนหน้านี้นอกจาก True แล้วก็ไม่มีรายไหนเลยเป็นเจ้าของทั้ง platform ดาวเทียมและ content ไปพร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้แกรมมี่จะมี content ในมือเยอะจริง แต่กลับเป็นช่องที่อยู่บนทีวีดาวเทียมอยู่ก่อนแล้ว ยังไม่มีปัจจัยดึงดูดอะไรให้คนมาซื้อกล่องของ GMM Z ไปใช้ที่บ้านอยู่ดี ตรงนี้เลยต้องใช้ยุทธศาสตร์หา content คุณภาพสูงและเป็นที่ต้องการมากๆ อย่างการถ่ายทอดฟุตบอลนัดสำคัญ การถ่ายทอดคอนเสิร์ต ละครหรือภาพยนตร์ชื่อดัง เป็นต้น ซึ่งแกรมมี่เริ่มจาก “ฟุตบอล” นั่นเอง

ถ้าติดตามข่าววงการฟุตบอลต่างประเทศมาบ้าง อาจเคยได้ยินข่าวว่าแกรมมี่ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลบุนเดสลีกาเยอรมันมาเตรียมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่เป็นลิขสิทธิ์ของฤดูกาลหน้าซึ่งจะเริ่มเตะประมาณเดือนสิงหาคมนี้ แต่ที่เป็นประเด็นร้อนแรงกว่าคือฟุตบอลยูโร 2012 นั่นเอง



แกรมมี่ต้องการใช้เนื้อหาพิเศษหรือ exclusive content เหล่านี้มาสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าซื้อกล่อง GMM Z ไปติดตั้งที่บ้าน ซึ่งจะช่วยดันยอดขายของ GMMZ ซึ่งถือเป็นหน้าใหม่ของวงการ ให้เพิ่มสูงในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อว่าในเกมระยะยาวแล้ว แกรมมี่สามารถหากินกับฐานลูกค้ามหาศาลกลุ่มนี้ได้อีกนาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่แกรมมี่จะเล่นบทโหด ปิดกั้นสัญญาณไม่ให้ดาวเทียมแพลตฟอร์มอื่นๆ สามารถดูถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรได้อย่างเคย (ยกเว้นจะจ่ายเงินให้แกรมมี่ซึ่งมีทีวีดาวเทียมบางรายยอมจ่าย) เพราะฟุตบอลยูโรถือเป็น “อาวุธ” ชิ้นแรกที่ GMM Z ใช้นำร่องเปิดตัวและเป็นจุดขายของแพลตฟอร์มนั่นเอง

จุดแตกต่างของแกรมมี่กับอาร์เอสอยู่ที่ว่า แกรมมี่ตัดสินใจกระโดดขึ้นมาเล่นเกมใหญ่ สร้าง platform ของตัวเองด้วย ในขณะที่อาร์เอสที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการสำคัญอย่างลาลีกาสเปน และฟุตบอลโลก 2014 กลับยังหยุดตัวเองไว้ที่ content provider เท่านั้น ตรงนี้ต้องจับตาดูว่าอาร์เอสจะขยับขึ้นไปเล่นเกมระดับเดียวกับแกรมมี่หรือไม่ หรือจะใช้ยุทธศาสตร์สร้างจุดต่าง ยังเป็น content provider แบบเดิมแล้วจับมือกับพันธมิตรรายอื่นๆ แทน


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Wednesday, June 27, 2012

TV Platform vs Content Providers

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

การวิเคราะห์สภาพการแข่งขันของทีวีไทยในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องแยกพิจารณาผู้เล่นในตลาดเป็น 2 ส่วน
  • platform provider หรือคนสร้างระบบการแพร่ภาพหรือรับสัญญาณภาพ ตัวอย่างเช่น บริษัทเคเบิลทีวี หรือเจ้าของจานดาวเทียมยี่ห้อต่างๆ อย่างสามารถ PSI DTV เป็นต้น
  • content provider หรือเจ้าของรายการทีวี จะผลิตเองหรือจะซื้อมาจากต่างประเทศก็ได้ ตัวอย่างบริษัทในกลุ่มหลังได้แก่ เนชั่น เวิร์คพอยต์ แกรมมี่ อาร์เอส สปริงนิวส์ เป็นต้น

สำหรับวงการฟรีทีวีแบบ terrestrial จะควบทั้ง 2 บทบาท คือเป็นเจ้าของระบบส่งสัญญาณ เสาสัญญาณเองด้วย และเป็นผู้ผลิตรายการหรือซื้อรายการมาฉายด้วย (เช่น ทำข่าว ละคร รายการของตัวเอง ถ้าเวลาเหลือจึงให้เอกชนรายอื่นมาเช่าเวลาต่อ) แต่สำหรับแวดวงเคเบิล-ดาวเทียม โดยปกติแล้ว ผู้เล่นในสองกลุ่มนี้จะเป็นคนละบริษัทกัน โดยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน เช่น กลุ่มเนชั่นซื้อช่องบนแพลตฟอร์มของ PSI และนำรายการมาฉายเพื่อหากำไรจากสปอนเซอร์อีกต่อหนึ่ง ในขณะเดียวกันเนชั่นก็ซื้อช่องบนแพลตฟอร์มดาวเทียมอื่นๆ อย่าง DTV ด้วย

ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ทำให้จานดาวเทียมและเคเบิลทีวีแทบทุกราย (ยกเว้น True Visions) มีช่องรายการที่ใกล้เคียงกัน อาจต่างกันในรายละเอียดบางส่วนแต่ช่องหลักๆ จะเหมือนกัน ประสบการณ์การรับชมจึงไม่ต่างกันนักไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี

กรณีของ True Visions ถือเป็นกรณีพิเศษคือ True ควบทั้ง 2 บทบาทเช่นกัน ในด้านหนึ่งทรูก็ทำจานแดง ทำกล่องรับสัญญาณของตัวเองออกมาขาย ในอีกด้านหนึ่งก็ซื้อรายการฟุตบอล ภาพยนตร์ ซีรีส์จากต่างประเทศ รวมถึงผลิตรายการเองอย่างเช่น Academy Fantasia หรือช่องข่าว TNN อีกด้วย นโยบายลักษณะนี้ของทรูคือเป็น “แพลตฟอร์มปิด” ซึ่งในที่นี้แปลว่ารายการที่ฉายบน True Visions ห้ามไปฉายบนทีวีระบบอื่นๆ ฉายได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มของทรูเท่านั้น

การควบบทบาททั้ง platform provider และ content provider ช่วยสร้างความได้เปรียบในแง่การแข่งขันมาก เพราะควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ อำนาจต่อรองสูง (vertical integration) ตรงนี้เลยเป็นเหตุให้แกรมมี่ซึ่งเดิมทีเป็น content provider รายใหญ่อยากเข้ามาเป็น platform provider บ้าง


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, June 26, 2012

ทีวีทางเลือก

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

เมื่อเทคโนโลยีการแพร่สัญญาณทีวีแบบอื่นๆ พัฒนาขึ้นมา ทำให้ผู้ชมชาวไทยมี “ทีวีทางเลือก” ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น IPTV หรือทีวีออนไลน์ แต่ที่สำคัญมีเพียง 2 อย่างคือ “ทีวีผ่านสายเคเบิล” และ “ทีวีผ่านดาวเทียม” นั่นเอง

ในส่วนของเคเบิลทีวี ในอดีตเคยมีผู้เล่น 3 รายคือ IBC, ThaiSky และ UTV ซึ่งภายหลังได้ควบกิจการกันเหลือเพียงรายเดียวคือ UBC ของกลุ่มซีพี (และปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ชื่อ True Visions) อย่างไรก็ตามถึงแม้ True Visions ในช่วงแรกจะเริ่มจากเทคโนโลยีสายเคเบิลใน กทม. แต่ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีดาวเทียมพัฒนาขึ้น ทรูก็เปลี่ยนมาใช้ดาวเทียม “จานแดง” อย่างที่เห็นกันทุกวันนี้ โดยที่ยังมีลูกค้ากลุ่มเคเบิลอยู่บ้างแต่ไม่เยอะนัก

ตลาดเคเบิลทีวีในภายหลังก็มีเคเบิลทีวีท้องถิ่นรายย่อยๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ให้บริการกลุ่มนี้รวมตัวกันเป็น “สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย” กันอย่างหลวมๆ โดยเจาะตลาดตามพื้นที่ของตัวเอง ลดการแข่งขันในพื้นที่เดียวกันเพื่อรักษาอัตรากำไรจากราคาที่คงที่

ส่วนทีวีดาวเทียม ช่วงแรกเริ่มจาก “จานดำ” หรือดาวเทียมระบบ C-Band ที่มีสามารถและ PSI เป็นหัวหอก ทีวีดาวเทียมกลุ่มนี้จะรับสัญญาณดาวเทียมที่ไม่เข้ารหัสจากต่างประเทศได้ด้วย ต่อมาก็พัฒนาเป็นระบบ “จานสี” หรือ KU-Band ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคมเป็นหลัก โดยมีผู้เล่นในตลาดนี้หลายราย เช่น PSI ที่มียอดขายสูงสุด, DynaSAT, InfoSAT หรือ DTV ที่ทำเองโดยบริษัทไทยคมของกลุ่มอินทัช เป็นต้น

ภาวะทางการเมืองที่ร้อนแรงทำให้กลุ่มก้อนการเมืองหันมาทำทีวีดาวเทียมของตัวเอง (เพราะการครอบครองสื่อเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง และกลุ่มการเมืองไม่สามารถแทรกตัวเข้ามายังช่องฟรีทีวีได้มากนักเช่นกัน ทางออกจึงเหลือเพียงทีวีดาวเทียมที่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายจากการที่ไม่มี กสช. ทำหน้าที่กำกับดูแล) และส่งผลให้ยอดขายจานดาวเทียมเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเฉพาะพื้นที่นอกกรุงเทพ บวกกับปัญหาเรื่องคุณภาพสัญญาณของการแพร่ภาพแบบ terrestrial ทำให้ปัจจุบันมียอดผู้ชมดาวเทียมสูงมาก

เมื่อทั้งเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมสามารถรับชมช่องฟรีทีวีแบบ terrestrial ได้เช่นกัน บวกกับคุณภาพสัญญาณที่ดีกว่า (ไม่โดนตึกบังหรือคลื่นรบกวน) และจำนวนช่องที่มีให้เลือกเยอะกว่าในราคาที่ไม่แพงนัก ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมาดู “ทีวีทางเลือก” แทนการใช้เสาก้างปลาแบบเดิม


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, June 11, 2012

โครงสร้างการแข่งขันทีวีไทย

“ฟรีทีวี” ในปัจจุบันทั้ง 6 ช่องว่าเป็นทีวีที่ใช้การแพร่ภาพผ่านเสาอากาศ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า terrestrial TV ซึ่งจะส่งสัญญาณเป็นอะนาล็อกหรือดิจิทัลก็ได้ โดยปัจจุบันระบบของเมืองไทยยังเป็นอะนาล็อกทั้งหมด และมีแผนจะเริ่มใช้การแพร่ภาพแบบดิจิทัลช่วงปลายปีนี้ โดยผู้อนุมัติคือ กสทช. แต่ทั้งหมดเป็นการส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศก้างปลาที่พบเห็นทั่วไป

ฟรีทีวีทั้ง 6 ช่องถือเป็นการผูกขาดตลาดอย่างสมบูรณ์ โดยทีวีจำนวนถึง 4 ช่องเป็นทีวีของหน่วยงานของรัฐ เช่น ช่อง 5 เป็นของกองทัพบก ช่อง 9 ของ อสมท ช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ และ Thai PBS ที่เป็นทีวีสาธารณะ ส่วนช่อง 3 กับช่อง 7 เป็นเอกชนดำเนินการภายใต้คู่สัมปทานของรัฐยาวนานหลายสิบปี ไม่มีช่องให้เอกชนรายอื่นเข้ามาแทรกได้เลย




บริษัทเอกชนที่เข้ามาทำสัญญากับรัฐและสร้างกำไรมหาศาลจากการทำสถานีทีวีก็คือ กลุ่ม BEC ของช่อง 3 และกลุ่ม BBTV ของช่อง 7 เท่านั้น ในขณะที่บริษัทด้านทีวีรายอื่นๆ เช่น กลุ่มเนชั่น กลุ่มแปซิฟิก กลุ่มกันตนา กลุ่มแกรมมี่ กลุ่มอาร์เอส กลุ่มเวิร์คพอยต์ ฯลฯ เป็นได้อย่างมากก็แค่ “ผู้ผลิตรายการ” ป้อนทางทีวีทั้ง 6 ช่อง มีอำนาจต่อรองในเรื่องผังรายการและโฆษณาต่ำกว่าการเป็นเจ้าของโฆษณาเองมาก

แหล่งที่มา : siamintelligence



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Friday, June 8, 2012

ระบบ TV ดาวเทียม

ในขณะที่กำลังมีการขยายตัวและได้รับความนิยมอย่างมากในการดู TV ระบบดิจิตอล โดยเฉพาะทีวีผ่านดาวเทียม ซึ่งมีผู้ให้บริการหลายรายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดูจากสีจานเช่น แดง ส้ม เหลือง ดำ ฯลฯ ทั้งแบบฟรีทีวีและแบบมีค่าบริการ เรามาทำความรู้จักกับทีวีดาวเทียมด้านจานรับกันหน่อย


ภาพจากอินเตอร์เน็ต


เสาอากาศหรือจานรับทีวีจากสัญญาณจากดาวเทียม ที่ใช้งานทั่วไปมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบ C Band และ ระบบ Ku Band (Kurtz-under band) 


จานรับ TV ดาวเทียม C Band และ Ku Band แตกต่างกันอย่างไร
  1. ความเข้มของสัญญาณ C Band ที่ส่งลงมาจากดาวเทียม ความเข้มจะน้อยกว่า Ku Band 
  2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ  C Band จะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างกว่าทั้งแบบ Regional และ  Global แต่ระบบ  Ku Band จะครอบคลุมพื้นที่เฉพาะที่เล็กกว่า ทั้งแบบ Spot Beam และ Steerable Beam ในทางเทคนิคจึงส่งสัญญาณ C Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกัน
  3. ขนาดของจานรับสัญญาณ C Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบก็ได้ รูปพาราโบลิค เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8-3.5 เมตร  ส่วน Ku Band จะเป็นจานทึบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.35 - 1.80 เมตร และจากการที่ความเข้มของสัญญาณที่แรงกว่า จึงทำให้ระบบ Ku Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า  C Band ได้ 2-3 เท่า
  4. ลักษณะของแผ่นสะท้อนของจานรับ ระบบ Ku Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี  ในขณะที่  C Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ และสามารถใช้จานแบบ C Band รับสัญญาณระบบ Ku Band ได้ แต่ไม่สามารถนำจาน Ku Band มารับสัญญาณ C Band ได้
  5. หัวรับสัญญาณ ทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นกระเปาะ อยู่บริเวณจุดรับคลื่นสะท้อนมารวมกันบนจานรับ เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้เป็นความถี่ต่ำลง ให้เหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับ สัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C Band จะรองรับความถี่ 4-8 GHz (ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ) ส่วน Ku Band รองรับความถี่ 12-18GHz จึงใช้ LNBF แทนกันไม่ได้ แต่บางยี่ห้อทำแบบ 2 ระบบบรรจุไว้ในตัวเดียวกัน
  6. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยปรกติใช้ร่วมกันได้ แต่เครื่องรับบางชนิดรับได้เฉพาะระบบ เช่นที่สั่งผลิต เช่นของ UBC จึงไม่สามรถนำมาใช้ทั่วไปได้ เครื่องรับสัญญาณทั่วไปสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ โดยต้องตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้อง
  7. และระบบ Ku Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูงกว่า ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณได้ไม่ดี หรือรับไม่ได้ในขณะที่เมฆหนา ฝนตกหนักหรือหิมะ แต่ระบบ  C Band จะไม่ค่อยมีปัญหานี้

แหล่งที่มา : dvbthai blog



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Saturday, June 2, 2012

กสทช.ยืนยันคนไทยได้ดูทีวีดิจิตอลในสิ้นปี จะเริ่มทดลองออกอากาศจากฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

กสทช.ประเมินว่า จะเกิดการลงทุนจากการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมดิจิตอลกว่าหลักแสนล้านบาทในช่วง 3 ปีนี้ และจะให้ฟรีทีวี เริ่มทดลองออกอากาศในช่วงแรก

ปัจจุบันประเทศไทยออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน หรือ ฟรีทีวี 6 ช่อง โดยคาดว่าระบบดิจิตอลทีวีจะเข้ามาแทนระบบอนาล็อกได้ในปี 2558 ตามแผนที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วางไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถดูฟรีทีวีได้มากถึง 100 ช่อง จากการพัฒนาระบบทางเทคโนโลยี โดยขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างดำเนินการในการคัดเลือกรูปแบบระบบการให้บริการทีวีดิจิตอลในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนมิถุยายนนี้ ซึ่งเวลานี้ไทยพีบีเอส เป็นสถานีฟรีทีวี ที่มีความพร้อมในการปรับตัวมากที่สุด เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับระบบดิจิตอลมากที่สุด ทั้งนี้ กสทช.คาดว่าการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการลงทุนทั้งระบบมากถึงหลักแสนล้านบาทในช่วงเวลา 3 ปีนี้

การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ทีวีดิจิตอล กสทช.อาจเริ่มหลังจากทดลองออกอากาศแล้ว สำหรับฟรีทีวีในช่วง 3 เดือนแรก เพื่อระบบความพร้อมด้านเทคนิคในระบบการเปลี่ยนผ่าน จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการให้ใบอนุญาต ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ โดยกำหนดช่วงเวลาไว้ 1 ใบ มีเวลาประกอบการได้ 15 ปี

แหล่งที่มา : thaipbs



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Friday, June 1, 2012

มาตรฐาน DVB-T2


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

DVB-T2 ย่อมาจาก Digital Video Broadcasting – Second Generation Terrestrial เป็นมาตรฐานที่พัฒนามาจากมาตรฐาน DVB-T โดยนำเทคนิคการมอดูเลต (Modulation) และการเข้ารหัสแบบใหม่ (Encoding) มาใช้เพื่อให้การใช้สเปกตรัมในการส่งสัญญาณประเภทเสียง วิดีโอ และข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับหลักการทำงานนั้น DVB-T2 ใช้การมอดูเลชัน (Modulation) แบบ OFDM (orthogonal frequency division multiplex) เช่นเดียวกับมาตรฐาน DVB-T สาหรับการแก้ไขข้อมูลผิดพลาดนั้น DVB-T2 ใช้วิธีการเข้ารหัสแบบที่ใช้กับมาตรฐาน DVB-S2 ได้แก่การเข้ารหัสแบบ LDPC (Low Density Parity Check) ซึ่งใช้ร่วมกับการเข้ารหัสแบบ BCH (Bose-Chaudhuri-Hocquengham) ทำให้สัญญาณที่ถูกเข้ารหัสทนทานต่อสัญญาณแทรกสอด (Interference) และสัญญาณรบกวน (Noise) ที่มีระดับสูงได้ดี

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกจำนวนคลื่นพาห์และขนาดของช่วงป้องกัน (guard interval) ได้หลากหลายมากขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐาน DVB-T และหากเลือกใช้ค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมกับช่องสัญญาณจะทำให้การส่งมีประสิทธิภาพ โดยการเปรียบเทียบค่าพารามิเตอร์และรายละเอียดทางเทคนิคระหว่าง DVT-T และ DVB-T2 แสดงได้ ดังตาราง



นอกจากนี้มาตรฐาน DVB-T2 ยังใช้เทคนิคแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Rotated Constellations ทำให้สัญญาณมีความทนทานมากขึ้นในช่องสัญญาณบางประเภท และ DVB-T2 ยังได้ใช้ Alamouti code ในการปรับปรุงให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ในโครงข่ายความถี่เดียว (single-frequency networks) มากขึ้น

แหล่งที่มา : http://dvbthai.blogspot.com/2011/01/dvb-t2.html


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Wednesday, May 30, 2012

Digital Video Broadcasting (DVB) คืออะไร

ตามที่กสทช. ได้ประกาศใช้ระบบของยุโรป หรือ DVB-T2 เป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิตอลภาคพื้นดินของประเทศไทย (Digital Terrestrial Television : DTTV) หลายคนคงสงสัยแล้ว DVB มันคืออะไร


ภาพจากอินเตอร์เน็ต


Digital Video Broadcasting (DVB) เป็นมาตรฐานกลางของโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (digital television) ที่ปรับปรุงและแก้ไขโดย DVB Project ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของกลุ่มธุรกิจที่มีสมาชิกมากกว่า 270 ราย โดยมาตรฐานของ DVB นั้น ออกโดย Joint Technical Committee (JTC) ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่เกิดจากการรวมตัวกันของ European Telecommunications Standards Institute (ETSI), European Committee for Electrotechnical Standardization (CENELEC) และ European Broadcasting Union (EBU)


DVB ทำงานอย่างไร
DVB สามารถส่งข้อมูลผ่านได้ทั้งสัญญาณดาวเทียม (DVB-S หรือ DVB-S2) ทางสายเคเบิล (DVB-C) หรือผ่านการกระจายสัญญาณจากเสาสัญญาเหมือนโทรทัศน์ทั่วไป (Terrestrial) (DVB-T) หรือระบบสัญญาณเพื่อโทรทัศน์แบบพกพา (DVB-H) โดยการส่งข้อมูลนั้น DVB ได้ระบุรูปแบบในการส่งข้อมูลใน physical layer และ datalink layer ไว้ โดยอุปกรณ์รับสัญญาณจะติดต่อกับ physical layer ผ่านทาง Synchronous Parallel Interface (SPI), Synchronous Serial Interface (SSI), หรือ Asynchronous Serial Interface (ASI) ในการส่งข้อมูลนั้นข้อมูลทั้งหมดจะส่งในรูปของ MPEG-2 Transport stream โดยที่จะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ต้องเพิ่มเติมเข้าไป (DVB-MPEG) ส่วนมาตรฐานของการบีบอัดข้อมูลสำหรับอุปกรณ์พกพานั้นกำลังอยู่ในการพัฒนา


การแปลงสัญญาณของแต่ละอุปกรณ์นั้นจะต่างกัน โดยจะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางด้านเทคนิคดังที่กล่าวไว้ข้างล่างนี้
  • DVB-S (SHF) ใช้ QPSK
  • DVB-S2 ใช้ QPSK, 8PSK, 16APSK or 32APSK โดยจะขึ้นอยู่กับ ผู้ให้บริการ โดยทั่วไปแล้วจะใช้ QPSK และ 8PSK
  • DVB-C (VHF/UHF) ใช้ QAM: 64-QAM or 256-QAM
  • DVB-T (VHF/UHF) ใช้16-QAM หรือ 64-QAM (หรือ QPSK) ร่วมกับ COFDM
สัญญาณข้อมูล (data channel)
นอกจากสัญญาณภาพและเสียงแล้ว DVB ยังกำหนดวีธีการติดต่อขอรับข้อมูล (DVB-DATA - EN 301 192) โดยมีวิธีการส่งข้อมูลกลับ สำหรับ สื่อรูปแบบต่าง ๆ (DECT, GSM, PSTN/ISDN, satellite etc.) รวมทั้งผ่าน protocol ต่าง ๆ (DVB-IPI: Internet Protocol; DVB-NPI: network protocol independent). นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการทำงานกับเทคโนโลยีเก่า ๆ เช่น teletext (DVB-TXT) และ vertical blanking interval data (DVB-VBI) แต่อย่างไรก็ตาม DVB ก็สนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น DVB-SUB สำหรับการแสดงคำบรรยาย ด้วยเหมือนกัน


การเข้ารหัสข้อมูล และข้อมูลพื้นฐานของสัญญาณ
ในระบบ Conditionnal Access (DVB-CA) จะมีการกำหนดอัลกอริทึมเพื่อการเข้ารหัสข้อมูลพื้นฐาน Common Scrambling Algorithm (DVB-CSA) และ Common Interface (DVB-CI) เพื่อสำหรับใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ได้ถูกเข้ารหัส (scrambled content) โดยผู้ให้บริการ DVB นั้นจะต้องพัฒนาระบบ Conditional Access นี้ภายใต้ข้อจำกัดตามที่ทาง DVB กำหนดมา ในข้อมูลที่ส่งมาจากทางผู้ให้บริการนั้น จะประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐาน (Metadata) ที่เรียกว่า Service Information (DVB-SI) ที่จะเป็นตัวบอกรายละเอียดเบื้องต้นให้กับโปรแกรมที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ส่งมา ข้อมูลใน SI นี้เองที่บอกถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ใน MPEG Stream เพื่อนำข้อมูลไปใช้สร้างเนื้อหาที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้อีกด้วย เช่น Electronic program guide (EPG)
ซึ่งในขณะนี้ DVB กำลังอยู่ในช่วงพัฒนาเรื่องการป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์โดยการหาทางป้องกันไม่ให้ ข้อมูลหรือสื่อที่ผู้ใช้ได้ทำการอัดลงใน Set-top box ไม่ให้สามารถนำไปเผยแพร่บน internet ได้ แต่สามารถที่จะให้ใช้ในบ้านหรือใน เครือข่ายที่เป็นส่วนตัวได้เท่านั้น ซึ่งเรียกระบบนี้ว่า DVB-CPCM


Software Platform
DVB Multimedia Home Platform (DVB-MHP) นั้นเป็นแพลทฟอร์มสำหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรทัศน์ดิจิตอล ที่มีพื้นฐานอยู่บนเทคโนโลยีจาวา โดย MHP ได้มีการเขียนวิธีการและแนวคิดในการพัฒนาของ DVB และ MPEG-2 ไว้ด้วยนอกจากนั้นยังมี interface สำหรับในการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของ Set-top box เช่นการจัดการกับเรื่องการเชื่อมต่อเข้าเครือข่าย การดาวน์โหลดโปรแกรมประยุกต์ หรือว่าเรื่อง การจัดการกราฟิคที่จะมาแทรกกับวิดีโอก็มีเตรียมไว้ให้ด้วย
OpenTV เป็นเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาระบบโทรทัศน์ดิจิทัลอีกเจ้าหนึ่ง ที่มีประสบการณ์ทำงานมามากกว่าสิบปี (ในขณะที่ MHP เกิดมาไม่ถึงสามปี) โดยพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยภาษาซี และมีความสามารถในการรันเทคโนโลยีประเภท Flash และ HTML ได้ด้วย และความสามารถอีกอย่างของ OpenTV คือการปรับรุ่นของ Set-top box ที่ใช้ OpenTV จากเดิมที่เป็นภาษาซี มาเป็นเทคโนโลยี MHP ด้วยภาษาจาวา


แหล่งที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, May 28, 2012

ทำไมต้อง Digital TV?

Digital TV
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
คำว่า Digital TV ได้ถูกพูดถึงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากที่ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ) ทำการออกแผนแม่บทวิทยุโทรทัศน์ โดยมี Digital TV เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลัก คำถามหลักๆ ก็คือ Digital TV คืออะไร มีความแตกต่างอย่างไรกับ Analog TV และจะมีผลกระทบกับรูปแบบของธุรกิจทีวีอย่างไร



Digital TV คือ ทีวีที่ทำงานในรูปแบบดิจิตอล สัญญาณภาพและเสียงในรูปแบบดิจิตอลมีคุณภาพที่ดีกว่า Analog โดยภาพและเสียงมีความคมชัดกว่ามาก อีกทั้งยังมีการถูกรบกวนในอัตราที่น้อยกว่า เช่น ภาพลาย ภาพล้ม ภาพเบี้ยว ที่พบเห็นในระบบทีวีในปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งนอกจาก Digital TV จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่า Analog ในด้านคุณภาพของสัญญาณแล้ว ยังถือว่าเป็นการใช้ความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในระบบ Digital TV มีการส่งข้อมูลเป็น bit และสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบ Analog มีการผสมคลื่นแบบ COFDM (Coded Orthogonal Frequency Division Multiplexing) โดยในหนึ่งช่องสัญญาณ จะสามารถนำส่งไปยังหลายรายการโทรทัศน์ จึงเรียกได้อีกแบบหนึ่งว่า การแพร่กระจายคลื่นแบบหลากหลายรายการ (Multicasting) ในหนึ่งช่องสัญญาณ การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย ยกตัวอย่างเช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV โดยทั่วไป Digital Television จะใช้สัญญาณ Digital ที่ถูกบีบอัด และเข้ารหัสซึ่งอาจเป็นรูปแบบ MPEG-2 หรือ MPEG-4 ส่งผลให้ในการรับชมนั้น จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ถอดรหัส ซึ่งอาจมีมาพร้อมกับตัวเครื่องรับโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับระบบดิจิตอล หรือจะเป็นอุปกรณ์ถอดรหัสที่แยกกัน เช่น อุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณที่เรียกว่า STB (Set Top Box) ซึ่งใช้ถอดรหัสสัญญาณ และป้อนให้กับเครื่องรับโทรทัศน์ Analog ที่มีใช้งานทั่วไป หากเป็นการรับชมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) จะสามารถใช้การ์ดรับสัญญาณที่สามารถถอดรหัสได้เลย สรุปก็คือ Digital TV ในหนึ่งช่องสัญญาณ จะสามารถนำมาส่งได้หลายรายการโทรทัศน์



ทำไมถึงควรเปลี่ยนจาก Analog มาสู่ Digital TV - การแพร่กระจายคลื่นแบบ Analog มีขีดจำกัดในเรื่องของการส่งสัญญาณ ซึ่งจะใช้ความกว้างช่องสัญญาณมาก ทำให้คลื่นสัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย สัญญาณภาพมีคุณภาพต่ำ รวมไปถึงไม่สามารถประยุกต์ไปใช้งานร่วมกับสื่อผสมอื่นๆ ได้ สำหรับข้อได้เปรียบของ Digital TV มีประโยชน์ดังต่อไปนี้



1. เป็นการใช้ช่องสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิมในระบบ Analog ใช้ช่องสัญญาณหนึ่งช่องต่อหนึ่งรายการและมีการวางช่องสัญญาณคลื่นความถี่ติดกันหรือสถานีส่งใกล้เคียงกัน ทำให้ไม่สามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่ที่อยู่ติดกันได้ แต่ในระบบ Digital สามารถใช้ช่องสัญญาณความถี่ที่ติดกัน ทำให้ใช้ช่องสัญญาณได้เต็มที่ครบทุกช่อง และสามารถออกอากาศในพื้นที่ใกล้เคียงกันได้โดยไม่รบกวนกัน และในหนึ่งช่องสัญญาณจะสามารถออกอากาศได้หลายๆ รายการไปพร้อมๆ กัน (Multi Channel) ทำให้สามารถส่งรายการได้มากขึ้นกว่าเดิม สรุปก็คือ จะทำให้มีรายการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในความเห็นของผม ผู้ประกอบการจะแข่งขันกันด้วยเนื้อหา โดยในแต่ละรายการจะมีเนื้อหาเฉพาะกลุ่ม รวมไปถึงการโฆษณาก็จะมีการมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนดูที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น



2. Digital TV มีสัญญาณที่มีคุณภาพดีกว่าและไม่มีการรบกวนจากสภาวะแวดล้อมเหมือนใน Analog เนื่องจากในระบบ Analog มีการผสมคลื่นแบบเข้ารหัสสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง สำหรับ Digital TV มีการเข้ารหัส (Encode) ถอดรหัส (Decode) และมีระบบควบคุมเพื่อชดเชยสัญญาณได้ด้วย จึงทำให้สัญญาณไม่ถูกรบกวน สัญญาณภาพมีความต่อเนื่อง และภาพที่รับได้จะมีความคมชัดมาก


3. ในระบบ Analog มีสัญญาณภาพหลายมาตรฐาน คือ PAL, NTSC, SECAM ทำให้การควบคุมคุณภาพ การตัดต่อภาพและตกแต่งภาพระหว่างมาตรฐานที่แตกต่างกันทำได้ยาก และยังทำให้คุณภาพด้อยลงเมื่อผ่านกระบวนการตัดต่อหลายๆ ครั้ง แต่ระบบ Digital นั้นมีการใช้มาตรฐานการเข้ารหัสภาพแบบเดียว คือ MPEG-2 (ปัจจุบันพัฒนามาเป็น MPEG-4) ซึ่งมีคุณสมบัติของภาพที่หลากหลาย มีกระบวนการสร้างภาพที่ซับซ้อนกว่า แต่ให้คุณภาพที่ดีมากกว่า สามารถนำไปใช้งานในสื่อผสมอื่นๆ ที่หลากหลาย และเป็นที่นิยมแพร่หลายที่สุดในขณะนี้ จึงทำให้การนำไปใช้งานได้ครอบคลุมทุกวงการในการสื่อสารเกิดเป็นมาตรฐานเดียวกัน

4. Digital TV ให้ขนาดของการมองภาพในมุมมองที่ดีขึ้น ในระบบ Analog จะมีขนาดของการมองภาพที่แคบ (758 x 578 - PAL อัตราส่วนภาพ 4:3) และมีความละเอียดภาพที่ต่ำ การแสดงผลที่จอภาพไม่มีความชัดเจน ยิ่งจอภาพมีขนาดมากขึ้นจะยิ่งให้รายละเอียดที่ต่ำกว่า ส่งผลให้การแสดงผลบนจอโทรทัศน์ที่มีหน้าจอขนาดใหญ่มากๆ ขาดความชัดเจนของภาพ ทั้งนี้ หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการใช้ LCD และ Plasma TV กับสัญญาณ Analog จะเห็นได้ว่าภาพขาดความชัดเจนและมีรายละเอียดที่ต่ำ แต่ระบบ Digital จะสามารถเลือกการเข้ารหัสสัญญาณภาพได้หลายขนาด (1080 x 720, 1920 x 1080 ที่อัตราส่วนภาพ 16:9) ให้ความละเอียดสูง ทำให้การแสดงผลที่จอภาพมีความคมชัดสูงแบบ HDTV (High Definition Television) มีมุมมองภาพที่กว้างมากขึ้น (Width Screen) ภาพที่ได้ดูสมจริงและมองเห็นภาพได้กว้างมากขึ้น

5. สามารถให้บริการในลักษณะ 2 ทิศทาง การแพร่คลื่นระบบ Digital สามารถทำเป็นระบบตอบสนอง รับและส่งข้อมูลระหว่างสถานีฯ กับผู้ชมรายการได้ เป็นบริการเสริมสำหรับการจัดรายการโทรทัศน์ที่ผู้รับชมสามารถเลือกข้อมูลสำหรับตอบโต้กับรายการโทรทัศน์ได้ผ่านอุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญาณอื่นๆ ที่ติดตั้งเสริมขึ้นมา เช่น การให้บริการข้อมูลที่ส่งไปพร้อมสัญญาณภาพ (Video) ในระบบ Digital สามารถใส่รายละเอียดข้อมูลต่างๆ ไปพร้อมสัญญาณ Video เพื่อให้ผู้รับบริการเลือกเปิดดู ใช้ค้นหาข้อมูลเสริมอื่น หรือเปิดดูรายการโทรทัศน์ เป็นการให้บริการข้อมูลที่หลากหลายผ่านช่องรายการโทรทัศน์

6. การแพร่กระจายคลื่นระบบ Digital รองรับการส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ ได้ โดยผู้รับบริการสามารถรับสัญญาณภาพและเสียงด้วยโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ เคลื่อนที่ได้ทุกสถานที่และทุกเวลาที่มีสัญญาณส่งไปถึง อีกทั้งยังสามารถมีบริการเสริมเช่นเดียวกับ Data Broadcasting โดยสามารถเปิดเชื่อมข้อมูลเข้ากับเครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตและบริการออนไลน์ได้พร้อมๆ กับการเลือกชมรายการโทรทัศน์ ค้นหาและเชื่อมต่อข้อมูลได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านรายการโทรทัศน์ได้หลากหลาย เช่น อาจทำเป็นระบบ E-Commerce ที่มีการสั่งซื้อสินค้าผ่านรายการโทรทัศน์ได้นั่นเอง

7. Digital TV มีการบริการ Closed Captioning ซึ่งบริการนี้เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือคนหูหนวกหรือผู้มีปัญหาทางการได้ยิน ไม่ให้มีอุปสรรคในการรับชมรายการ อนึ่ง คุณสมบัติ Closed captioning นี้จะคล้ายคลึงกับ Captioning ที่มีในเครื่องรับทีวีอนาล็อกชนิดสนับสนุนฟังก์ชั่น Teletext ซึ่งลักษณะของบริการ Closed captioning โดยทั่วไปจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีดําปรากฏอยู่ด้านล่างของจอภาพ ภายในแสดงข้อความที่ตัวละครกําลังพูดอยู่ในขณะนั้น

8. มีบริการ Multiview ทําให้ผู้รับชมรายการหลักสามารถเลือกดูภาพจากมุมกล้องอื่นๆ ได้นอกเหนือไปจากที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอในเวลานั้นได้ รวมถึงการได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการในขณะนั้นเพิ่มเติม ประเภทของรายการหลักที่จะได้รับประโยชน์จาก Multi-view อย่างเห็นได้ชัดก็คือ รายการกีฬา เช่น รายการแข่งขันฟุตบอล เทนนิส แข่งรถ เป็นต้น ทั้งนี้ การส่ง multi-view จะใช้ช่องสัญญาณเพิ่มเติมสําหรับส่งผ่านบริการไปยังผู้ชมปลายทาง อาทิเช่น ใช้ 1 ช่อง เป็นช่องหลักออกอากาศรายการกีฬาพร้อมๆ กับอีก 2 ช่องเพิ่มเติมเป็นบริการ Multi-view โดยช่องหนึ่งใช้ส่งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมต่อเกมการแข่งขัน (Comments) ในขณะที่ช่องที่สองจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการเล่นในเกม (Details)

สรุปก็คือ Digital Television จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งนอกจากจะทำให้มีช่องรายการที่มากขึ้นแล้ว ภาพและเสียงก็จะมีคุณภาพสูงขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นในการรับชมโทรทัศน์ รายการจะแข่งขันกันด้วยคุณภาพของเนื้อหาที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดหลักของ Digital TV ก็คือ ทุกบ้านที่รับสัญญาณจะต้องมีอุปกรณ์ในการรับมาติดตั้งเพิ่มเติม ซึ่งอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณยังมีราคาที่แพง (ประมาณ 30 ดอลลาร์) ทั้งนี้ รัฐบาลอาจต้องมีการกำหนดนโยบายในการให้การสนับสนุน เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย ซึ่งที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลจะแจกคูปองมูลค่า 40 เหรียญให้ประชาชนไปแลกซื้อเครื่องแปลงสัญญาณ Digital TV รัฐบาลควรผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายหลักของชาติ ซึ่งผมค่อนข้างดีใจที่เรื่องนี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักที่ กสทช. จัดให้อยู่ในแผนแม่บทวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ โดยมุ่งเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่การรับส่งสัญญาณในระบบ Digital ดังนั้น เราคงต้องคอยจับตามองว่าเมื่อไหร่จะได้เห็น Digital TV ในเมืองไทยสักที


แหล่งที่มา : สยามรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 ก.พ. 2555



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online