Amazon Electronics

Monday, July 16, 2012

สมรภูมิทีวีทางเลือก

ความขัดแย้งระหว่างแกรมมี่กับทรูเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของ “ยุทธการ” แห่งโลกทีวีทางเลือกเท่านั้น ทรูเองเสียรายการฟุตบอลสำคัญๆ ออกไปมาก ถึงแม้จะยังรักษา “อู่ข้าวอู่น้ำ” อย่างพรีเมียร์ลีกอังกฤษได้อยู่อีก 1 ปี (ถึงฤดูกาล 2012-2013) ซึ่งทางแกรมมี่เองก็แสดงท่าทีชัดแล้วว่าต้องการแย่งลิขสิทธิ์นี้มาจากทรูให้จงได้ เพื่อขยายฐานลูกค้าดาวเทียม GMM Z ของตัวเองให้มากขึ้น

เดิมทีทรูเป็นผู้ให้บริการดาวเทียม-เคเบิลทีวีแบบพรีเมียม แต่ภายหลังโดนเคเบิลท้องถิ่นและทีวีดาวเทียมรายต่างๆ เข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ต่ำกว่า (กรณีของดาวเทียมส่วนใหญ่ไม่เสียค่ารายเดือนด้วยซ้ำ) แต่ทรูก็ยังเอาตัวรอดมาได้บ้างเพราะมีลิขสิทธิ์เนื้อหารายการสำคัญๆ เป็นแม่เหล็กดึงดูดอยู่มาก แต่การปรากฏตัวขึ้นของแกรมมี่ที่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ เข้าใจเกมของ content เป็นอย่างดี และคิดการใหญ่ถึงกับสร้างแพลตฟอร์มมาท้าทายทรู ย่อมทำให้ทรูสะเทือนไม่น้อย และออกอาหาร “หวั่นไหว” ดังที่เห็นได้จากการต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโรครั้งนี้

จากการประเมินของ SIU เชื่อว่าถ้าแกรมมี่ยังสามารถเก็บเล็กผสมน้อย ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการสำคัญๆ ได้ต่อไป ก็จะเพิ่มฐานลูกค้าขึ้นมาเบียดทรูได้ในระยะเวลาอันใกล้ กลายเป็น 2 ขั้วอำนาจแห่งโลกทีวีดาวเทียมที่มีอำนาจต่อรองสูง และจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่มีเพียงแค่ content หรือ platform เริ่มมีปัญหาแข่งขันไม่ได้ เพราะการผนวกรวมบริการทั้งหมดของแกรมมี่ทรงพลังกว่ามาก



นอกจากนี้ เกมทีวีทางเลือกยังไม่จำกัดแค่ดาวเทียม แต่ครอบคลุมไปถึง “เคเบิลทีวี” อีกด้วย เดิมทีวงการเคเบิลทีวีประกอบด้วยผู้ประกอบการรายเล็กเป็นจำนวนมาก แต่การก่อตัวของกลุ่ม CTH (Cable Thai Holding) ที่กำลังพยายามรวมวงการเคเบิลทีวีให้เป็นหนึ่ง ก็ยังเป็นที่น่าจับตามาก เพราะการเพิ่มทุนรอบล่าสุดของ CTH มีกลุ่มทุนใหญ่มาสนับสนุนด้วยมากมาย เช่น เศรษฐีหุ้นไทย วิชัย ทองแตง, ตระกูลวัชรพลแห่งเครือไทยรัฐ และที่สำคัญคือแกรมมี่ก็เข้ามาถือหุ้นเพื่อแหย่ขาเข้ามาในตลาดเคเบิลทีวีอีกเช่นกัน (รายละเอียดดูในข่าว เคเบิลไทย (CTH) จับมือไทยรัฐ-วิชัย ทองแตง ระดมทุนซื้อสิทธิพรีเมียร์ลีก)

SIU ประเมินว่ากลุ่ม CTH น่าจะกลายเป็นกำลังสำคัญของวงการเคเบิลในไม่ช้านี้ และร่วมกับ GMM Z และ True เป็นสามขั้วอำนาจหลักของวงการทีวีทางเลือก โดยมีผู้เสียประโยชน์รายสำคัญคือ PSI ที่เป็น platform provider รายใหญ่แต่ยังไม่มี content ของตัวเอง

และสุดท้าย การต่อสู้ของ “ทีวีทางเลือก” จะเริ่มมาบรรจบกับ “ฟรีทีวี” เมื่อการแพร่สัญญาณทีวีระบบดิจิทัล (ที่มีช่องเพิ่มขึ้นมาก) เริ่มใช้งานในประเทศไทย ผนวกกับการสิ้นอายุสัมปทานของช่อง 3 ในปี 2563 และช่อง 7 ในปี 2566 จะทำให้กลุ่มทุนทีวีทุกกลุ่มกลับมาแข่งขันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อนั้นคนที่ได้เปรียบที่สุดคือคนที่มี content ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของคนดูมากที่สุดนั่นเอง


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

No comments:

Post a Comment