Amazon Electronics

Monday, July 30, 2012

Smart TV และ Internet TV มันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? (Part 1)

Smart TV / Internet TV โดยทั่วไปคือทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ด้วยความสามารถของตัวเครื่อง ( Spec ) ที่สูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่น ( โปรแกรม ) ได้หลากหลาย  สามารถเชื่อมต่อเข้าใช้งานในโลกออนไลน์ Internet อย่างการใช้ Web Browser , Social Network และอื่นๆ ตามฟังก์ชั่นของ Smart TV / Internet TV แต่ละรุ่น

ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีของ TV นั้นพัฒนาไปไกลมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ LCD TV , LED TV , PLASMA TV เชื่อว่าหลายๆท่านคงได้พบเห็นตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้ากันเยอะแล้ว และในปัจจุบันนี้ทีวีจะไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือที่เอาไว้รับชมรายการโทรทัศน์หรือดูหนังเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังก้าวเข้าสู่โลกของการเชื่อมต่ออย่าง " Internet "  การใช้แอพพลิเคชั่นที่หลากหลายช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ความสามารถในการเล่นเกมส์ การจองตั๋วภาพยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย ทุกอย่างรวบรวมไว้แค่ปลายนิ้วสัมผัส


Smart TV คืออะไร ??
ก่อนจะพูดถึงคำว่า " Smart TV " ผมขอยกตัวอย่างไปถึงคำว่า Smart ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด เพื่อให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ " Smart Phone " ที่ทุกท่านรู้จักกันดีนั่นเอง เริ่มจากเมื่อก่อนนี้ โทรศัพท์มือถือก็มีความสามารใช้รับสายโทรเข้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันก็มีโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ทั้งกล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นเพลงต่างๆ เชื่อมต่อกับ Internet ดูคลิปวีดีโอ ลงแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น iOS ของ Apple หรือ Android จาก Google นั่นคือที่มาของคำว่า " Smart Phone " 


กลับมาถึงทางด้าน " Smart TV " ก็เช่นเดียวกันครับ เมื่อก่อนทีวีที่ใช้กันตามบ้านก็มีการใช้งานเพียง ดูละคร ดูหนัง ดูข่าว เท่านั้น ยังไม่มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้หลากหลายต้องพึ่งแหล่งข้อมูลจากภายนอกเพียงอย่างเดียวในการแสดงผลเช่น เครื่องเล่น DVD เครื่องเกมส์ Console ต่างๆ แต่ในปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นทีวีที่ "ฉลาด" มากขึ้นนั่นเอง ความสามารถของตัวเครื่องสูงมากขึ้น สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย  โดยส่วนใหญ่แล้วความสามารถทั้งหมดจะใช้งานได้ด้วยการท่องไปในโลกออนไลน์ แต่ก็ไม่ได้จำกัดแค่การเชื่อมต่อ Internet เพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการใช้งานอื่นๆเช่นการเล่นเกมส์ ( โดยไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ) การลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งในแต่ละแบรนด์จะมีความสามารถในการใช้งานและชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ผมขอแยกไว้ตามนี้ครับ


   













Smart TV , Internet TV นั้น ย่อมต้องการ Internet เข้ามาเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานอัพเดทข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ การใช้งานเว็บบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาใช้งานในตัวเครื่อง ซึ่งทีวีแต่ละรุ่นก็มีการเชื่อมต่อไม่เหมือนกัน


ประเภทของการเชื่อมต่อ Internet ของ Smart TV , Internet TV แบ่งได้ 3 ประเภทก็คือ

1. เชื่อมต่อผ่านสาย LAN  ( Wired - ใช้สาย )

2. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Adapter USB  ( Wireless - ไร้สาย )
3. เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi Built-in ในตัวเครื่อง ส่วนมากจะมีในเฉพาะรุ่นสูงๆเท่านั้น  ( Wireless - ไร้สาย )

ซึ่งหลังจากเชื่อมต่อผ่าน WiFi ในวงเดียวกันแล้วบางรุ่นจะมีความสามารถในการแชร์ไฟล์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเช่นเพลง วีดีโอต่างๆ เพื่อมาแสดงผลทางหน้าจอทีวีได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Notebook , กล้องถ่ายรูป Digital , โทรศัพท์ Smart Phone รุ่นต่างๆ


Smart TV และ Internet TV มันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? (Part 2)

แหล่งที่มา : lcdtvthailand.com


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, July 16, 2012

กสทช. ยัน โอลิมปิก เกมส์ 2012 จอไม่ดำ


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน คณะกรรมการกิจการกรจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกมากล่าวถึงความกังวลจากหลายฝ่าย ว่าการทอดสดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30 ที่กรุงลอนดอน อังกฤษ จะเกิดเหตุจอดำซ้ำรอยมหกรรมฟุตบอลยูโร 2012 ที่ผ่านมาว่า

การถ่ายทอดการแข่งขันโอลิมปิกช่วงปลายเดือนนี้ (27ก.ค.-12 ส.ค.) จะไม่เกิดปัญหาการปิดล็อคสัญญาณ หรือ จอดำอย่างแน่นอน โดยตนได้รับการยืนยันจาก พล.ท. ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีพูล แล้วว่า

การถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ จะยึดหลักปฎิบัติเหมือนเมื่อครั้งโอลิมปิคกรุงปักกิ่งที่ผ่านมา ไม่ว่าผู้ชมจะรับชมภาคพื้นดิน หรือทีวีดาวเทียม ก็สามารถรับชมได้ เนื่องจากต้องการให้ประชาชนคนไทยมีความสุข ร่วมเชียร์ ร่วมลุ้น กับนักกีฬาไทยไปพร้อมๆ กันในการแข่งขันกีฬาครั้งนี้

“ขอขอบคุณพล.ท.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานทีวีพูล ที่ประสานงานและดำเนินการจนสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และขอขอบคุณผู้ประกอบกิจการฟรีทีวี ที่ยังคงเห็นความสำคัญของการให้บริการแก่คนไทยมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนทางธุรกิจ” พ.อ.นทีกล่าว.

แหล่งที่มา : MThai News



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

สมรภูมิทีวีทางเลือก

ความขัดแย้งระหว่างแกรมมี่กับทรูเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของ “ยุทธการ” แห่งโลกทีวีทางเลือกเท่านั้น ทรูเองเสียรายการฟุตบอลสำคัญๆ ออกไปมาก ถึงแม้จะยังรักษา “อู่ข้าวอู่น้ำ” อย่างพรีเมียร์ลีกอังกฤษได้อยู่อีก 1 ปี (ถึงฤดูกาล 2012-2013) ซึ่งทางแกรมมี่เองก็แสดงท่าทีชัดแล้วว่าต้องการแย่งลิขสิทธิ์นี้มาจากทรูให้จงได้ เพื่อขยายฐานลูกค้าดาวเทียม GMM Z ของตัวเองให้มากขึ้น

เดิมทีทรูเป็นผู้ให้บริการดาวเทียม-เคเบิลทีวีแบบพรีเมียม แต่ภายหลังโดนเคเบิลท้องถิ่นและทีวีดาวเทียมรายต่างๆ เข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ต่ำกว่า (กรณีของดาวเทียมส่วนใหญ่ไม่เสียค่ารายเดือนด้วยซ้ำ) แต่ทรูก็ยังเอาตัวรอดมาได้บ้างเพราะมีลิขสิทธิ์เนื้อหารายการสำคัญๆ เป็นแม่เหล็กดึงดูดอยู่มาก แต่การปรากฏตัวขึ้นของแกรมมี่ที่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ เข้าใจเกมของ content เป็นอย่างดี และคิดการใหญ่ถึงกับสร้างแพลตฟอร์มมาท้าทายทรู ย่อมทำให้ทรูสะเทือนไม่น้อย และออกอาหาร “หวั่นไหว” ดังที่เห็นได้จากการต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโรครั้งนี้

จากการประเมินของ SIU เชื่อว่าถ้าแกรมมี่ยังสามารถเก็บเล็กผสมน้อย ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการสำคัญๆ ได้ต่อไป ก็จะเพิ่มฐานลูกค้าขึ้นมาเบียดทรูได้ในระยะเวลาอันใกล้ กลายเป็น 2 ขั้วอำนาจแห่งโลกทีวีดาวเทียมที่มีอำนาจต่อรองสูง และจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่มีเพียงแค่ content หรือ platform เริ่มมีปัญหาแข่งขันไม่ได้ เพราะการผนวกรวมบริการทั้งหมดของแกรมมี่ทรงพลังกว่ามาก



นอกจากนี้ เกมทีวีทางเลือกยังไม่จำกัดแค่ดาวเทียม แต่ครอบคลุมไปถึง “เคเบิลทีวี” อีกด้วย เดิมทีวงการเคเบิลทีวีประกอบด้วยผู้ประกอบการรายเล็กเป็นจำนวนมาก แต่การก่อตัวของกลุ่ม CTH (Cable Thai Holding) ที่กำลังพยายามรวมวงการเคเบิลทีวีให้เป็นหนึ่ง ก็ยังเป็นที่น่าจับตามาก เพราะการเพิ่มทุนรอบล่าสุดของ CTH มีกลุ่มทุนใหญ่มาสนับสนุนด้วยมากมาย เช่น เศรษฐีหุ้นไทย วิชัย ทองแตง, ตระกูลวัชรพลแห่งเครือไทยรัฐ และที่สำคัญคือแกรมมี่ก็เข้ามาถือหุ้นเพื่อแหย่ขาเข้ามาในตลาดเคเบิลทีวีอีกเช่นกัน (รายละเอียดดูในข่าว เคเบิลไทย (CTH) จับมือไทยรัฐ-วิชัย ทองแตง ระดมทุนซื้อสิทธิพรีเมียร์ลีก)

SIU ประเมินว่ากลุ่ม CTH น่าจะกลายเป็นกำลังสำคัญของวงการเคเบิลในไม่ช้านี้ และร่วมกับ GMM Z และ True เป็นสามขั้วอำนาจหลักของวงการทีวีทางเลือก โดยมีผู้เสียประโยชน์รายสำคัญคือ PSI ที่เป็น platform provider รายใหญ่แต่ยังไม่มี content ของตัวเอง

และสุดท้าย การต่อสู้ของ “ทีวีทางเลือก” จะเริ่มมาบรรจบกับ “ฟรีทีวี” เมื่อการแพร่สัญญาณทีวีระบบดิจิทัล (ที่มีช่องเพิ่มขึ้นมาก) เริ่มใช้งานในประเทศไทย ผนวกกับการสิ้นอายุสัมปทานของช่อง 3 ในปี 2563 และช่อง 7 ในปี 2566 จะทำให้กลุ่มทุนทีวีทุกกลุ่มกลับมาแข่งขันบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ เมื่อนั้นคนที่ได้เปรียบที่สุดคือคนที่มี content ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของคนดูมากที่สุดนั่นเอง


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Tuesday, July 3, 2012

กสท. เตรียมคลอด Must Carry!


นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และเลขานุการบอร์ดกระจายเสียง (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ ที่ประชุมบอร์ดกระจายเสียง มีมติในการประชุมครั้งที่ 27/2555 วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การนำพาช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Must Carry) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องรายการได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงช่องรายการ โดยมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. จัดทำร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว และนำมาเสนอต่อที่ประชุม กสท. ครั้งต่อไป โดยมีกรอบดังต่อไปนี้

1. หลักการของช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV)
- เป็นกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะในการส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
 - ช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) จะต้องยอมรับว่าจะไม่สามารถเรียกร้องเพิ่มเติมค่าลิขสิทธิ์ ในกรณีที่เป็นการรับชมในครัวเรือนตามปกติ ในทุกช่องทางภายในประเทศไทย

2. การกำหนดหลักการ Must Carry จะต้องไม่เป็นการสร้างภาระเกินความจำเป็นแก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์

3. การจัดช่องรายการของโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ในระบบดิจิตอล จะต้องมีการจัดหมวดหมู่

4. มีการกำหนดช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ในบางส่วนที่ผู้ประกอบกิจการบริการโครงข่ายสำหรับกิจการโทรทัศน์
จะต้องนำไปออกอากาศในโครงข่ายของตนเอง เช่น ช่องรายการประเภท กิจการบริการสาธารณะ

5. ช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ประเภท กิจการบริการธุรกิจ ให้ผู้ประกอบกิจการบริการโครงข่ายสำหรับกิจการโทรทัศน์สามารถเลือกเผยแพร่ในดครงข่ายของตนได้ตามความสมัครใจ

6. ช่องรายการโทรทัศน์ที่สามารถรับชมได้เป็นการทั่วไป (Free TV) ที่เป็นระบบอนาล็อกเดิม กำหนดในบทเฉพาะกาลให้ผู้ประกอบกิจการบริการโครงข่ายสำหรับกิจการโทรทัศน์เผยแพร่ในโครงข่ายของตนจนกว่าจะยุติการออกอากาศ

แหล่งที่มา : matichon online



Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online

Monday, July 2, 2012

GMM Z ชน TrueVisions

เดิมทีแกรมมี่เป็นเจ้าของ content รายใหญ่ มีช่องทีวีหลายช่องสำหรับฉายผ่านดาวเทียม-เคเบิลทีวี เช่น

  • Green Channel (ของบริษัทลูก A-Time)
  • ACTS Channel (ช่องละครจากบริษัทลูก Exact/Scenario)
  • Bang Channel
  • Fan TV (ช่องเพลงลูกทุ่ง)
  • Play Channel
  • Saranae Channel (ของกลุ่มสาระแนโชว์)
  • Maxxi Channel (ต่อยอดจากนิตยสาร Maxim)

แต่ปัญหาคือแกรมมี่ไม่มี platform ของตัวเอง ทำให้อำนาจต่อรองต่ำเมื่อเทียบกับ เช่น ถูกย้ายสลับช่องบ่อยๆ โดยแกรมมี่ไม่มีสิทธิ์ต่อรองอะไรมากนัก เมื่อแกรมมี่ตัดสินใจรุกเข้ามาทำ platform ของตัวเองในชื่อ GMM Z (1Sky เดิม) จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจมาก เพราะแกรมมี่กำลังพัฒนาตัวเองจาก “ผู้ให้บริการ content รายใหญ่” ขึ้นมาเป็น “platform+content provider” ท้าทาย True Visions โดยตรง เพราะก่อนหน้านี้นอกจาก True แล้วก็ไม่มีรายไหนเลยเป็นเจ้าของทั้ง platform ดาวเทียมและ content ไปพร้อมๆ กัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้แกรมมี่จะมี content ในมือเยอะจริง แต่กลับเป็นช่องที่อยู่บนทีวีดาวเทียมอยู่ก่อนแล้ว ยังไม่มีปัจจัยดึงดูดอะไรให้คนมาซื้อกล่องของ GMM Z ไปใช้ที่บ้านอยู่ดี ตรงนี้เลยต้องใช้ยุทธศาสตร์หา content คุณภาพสูงและเป็นที่ต้องการมากๆ อย่างการถ่ายทอดฟุตบอลนัดสำคัญ การถ่ายทอดคอนเสิร์ต ละครหรือภาพยนตร์ชื่อดัง เป็นต้น ซึ่งแกรมมี่เริ่มจาก “ฟุตบอล” นั่นเอง

ถ้าติดตามข่าววงการฟุตบอลต่างประเทศมาบ้าง อาจเคยได้ยินข่าวว่าแกรมมี่ซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลบุนเดสลีกาเยอรมันมาเตรียมไว้ก่อนแล้ว เพียงแต่เป็นลิขสิทธิ์ของฤดูกาลหน้าซึ่งจะเริ่มเตะประมาณเดือนสิงหาคมนี้ แต่ที่เป็นประเด็นร้อนแรงกว่าคือฟุตบอลยูโร 2012 นั่นเอง



แกรมมี่ต้องการใช้เนื้อหาพิเศษหรือ exclusive content เหล่านี้มาสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าซื้อกล่อง GMM Z ไปติดตั้งที่บ้าน ซึ่งจะช่วยดันยอดขายของ GMMZ ซึ่งถือเป็นหน้าใหม่ของวงการ ให้เพิ่มสูงในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อว่าในเกมระยะยาวแล้ว แกรมมี่สามารถหากินกับฐานลูกค้ามหาศาลกลุ่มนี้ได้อีกนาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่แกรมมี่จะเล่นบทโหด ปิดกั้นสัญญาณไม่ให้ดาวเทียมแพลตฟอร์มอื่นๆ สามารถดูถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรได้อย่างเคย (ยกเว้นจะจ่ายเงินให้แกรมมี่ซึ่งมีทีวีดาวเทียมบางรายยอมจ่าย) เพราะฟุตบอลยูโรถือเป็น “อาวุธ” ชิ้นแรกที่ GMM Z ใช้นำร่องเปิดตัวและเป็นจุดขายของแพลตฟอร์มนั่นเอง

จุดแตกต่างของแกรมมี่กับอาร์เอสอยู่ที่ว่า แกรมมี่ตัดสินใจกระโดดขึ้นมาเล่นเกมใหญ่ สร้าง platform ของตัวเองด้วย ในขณะที่อาร์เอสที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอลรายการสำคัญอย่างลาลีกาสเปน และฟุตบอลโลก 2014 กลับยังหยุดตัวเองไว้ที่ content provider เท่านั้น ตรงนี้ต้องจับตาดูว่าอาร์เอสจะขยับขึ้นไปเล่นเกมระดับเดียวกับแกรมมี่หรือไม่ หรือจะใช้ยุทธศาสตร์สร้างจุดต่าง ยังเป็น content provider แบบเดิมแล้วจับมือกับพันธมิตรรายอื่นๆ แทน


แหล่งที่มา : siamintelligence


Digital TV in Thailand (ดิจิตอลทีวี ในประเทศไทย) - แหล่งรวบรวมความรู้ บทความ ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบดิจิตอลทีวี (Digital TV) ในประเทศไทย
Set Top Box, Digital TV - แหล่งรวบรวมอุปกรณ์ Digital TV online